Quantcast
Channel: ศูนย์ข่าวทำเนียบรัฐบาล
Viewing all 1192 articles
Browse latest View live

นายกรัฐมนตรีสั่งการทุกกระทรวงเตรีมการป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควัน

$
0
0
นายกรัฐมนตรีสั่งการทุกกระทรวงเตรีมการป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควัน

นายกรัฐมนตรีสั่งการทุกกระทรวงเตรีมการป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควัน พร้อมขอให้ทุกกระทรวงไปดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างร้องเรียนเข้ามา

 

วันนี้ (21ม.ค.56) เวลา 11.15 น. ณ  ห้องแถลงข่าว ชั้น 3 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์ นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2556  ซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ว่า นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ทุกกระทรวงได้กลับไปพิจารณาและดำเนินการในเรื่องร้องทุกข์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งนี้ และให้มีการเตรียมดำเนินการในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีไว้แต่เนิ่น ๆ  ซึ่งขณะนี้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการดำเนินการเตรียมการล่วงหน้าในเรื่องนี้ไปแล้ว

ขณะเดียวกันในวันพรุ่งนี้ (22ม.ค.56) นายกรัฐมนตรีจะมีการประชุมระดับปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อสรุปงานในปีที่ผ่านมาและงานที่จะดำเนินการต่อไป โดยสำนักงบประมาณจะมีการชี้แจงทุกหน่วยงานในเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2557 และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจะได้มีการประชุมหารือกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม เพื่อทำยุทศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวมทั้งการจัดทำงบประมาณปี 2557 ด้วย

------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

 


นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายชุมพลฯ รองนายกรัฐมนตรี ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

$
0
0
นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายชุมพลฯ รองนายกรัฐมนตรี ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายชุมพลฯ รองนายกรัฐมนตรี ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีการยืนไว้อาลัยในการจากไปครั้งนี้ และจะมีการประสานไปยังครอบครัวนายชุมพลฯ เพื่อเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพต่อไป

 

วันนี้ (21ม.ค.56) เวลา 11.30 น. ณ  อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์ นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับญาติและครอบครัวต่อการเสียชีวิตของนายชุมพล  ศิลปอาชา อายุ 72 ปี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา  ที่ได้เสียชีวิตแล้ว เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี  เมื่อเวลา 09.33 น. ของเช้าวันนี้  และให้คณะรัฐมนตรียืนไว้อาลัยในการจากไปครั้งนี้ และจะมีการประสานไปยังครอบครัวนายชุมพลฯ เพื่อเป็นเจ้าภาพในการสวดอภิธรรมศพต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งสวดอภิธรรมศพ ณ ศาลา 1 วัดเทพศิรินทร์ทราวาส กรุงเทพมหานคร

 

------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

 

 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556

$
0
0
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2556

วันนี้ (21ม.ค.56) เวลา 09.00 น. ณ Conference Room 1 ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2556                                                                                                                                

จากนั้น นายทศพร เสรีรักษ์  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี   สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


1.  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนี้ 
1. เพิ่มบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพ หรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าว  
2. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางสติปัญญา และคนพิการประเภทอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

2. เรื่อง ข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 1,336.063 ล้านบาท ตามความเห็นของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เพื่อให้เป็นไปตามนัยข้อ 7 (3) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
 
3. เรื่อง  ขอความเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้เงินในปีงบประมาณ 2556 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ 
   1. เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ 2556 ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75 (3) สำหรับเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จำนวน 11,472.36 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 4,745.40 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ต่อไป
   2. เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Japan International Cooperation Agency (JICA)  สัญญาเลขที่ TXXI-4 และสัญญาเงินกู้เลขที่ TXXII-3 (Civil) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยการกู้เงินในประเทศ ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75 (3)  โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการกู้เงินและชำระหนี้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะต้องลงนามในสัญญารับชำระหนี้แทนกับกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนในการปรับโครงสร้างหนี้ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ชำระคืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการกู้เงินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ต่อไป
   3. รับทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ JICA สัญญาเลขที่ TXXI-4 และสัญญาเงินกู้เลขที่ TXXII-3 (Civil) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ต่องบแสดงฐานะทางการเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
 
4.  เรื่อง  ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ  ดังนี้
   1. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
   2. รับทราบข้อเสนอแผนความต้องการงบลงทุนเบื้องต้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
   3. เห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
สาระสำคัญของเรื่อง 
   1. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ดังนี้  1. ยุทธศาสตร์เร่งรัดการพัฒนาประเทศ และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน   2. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต  และความเท่าเทียมกันในสังคม 5. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 9. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
  2. แผนความต้องการงบลงทุนเบื้องต้น ปีงบประมาณ 2557 เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ใช้ประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 โดยข้อเสนอแผนความต้องการงบลงทุนเบื้องต้นดังกล่าว จำแนกเป็นค่าครุภัณฑ์ จำนวน 148,810.0 ล้านบาท ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จำนวน 415,440.9 ล้านบาท
  3. การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีดังนี้
  วันที่ 21 มกราคม 2556 (จากเดิมวันที่ 8 มกราคม 2556) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
  วันที่ 22 มกราคม 2556 (จากเดิมกุมภาพันธ์ 2556) นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
  วันที่ 22-24 มกราคม 2556 (จากเดิมวันที่ 9-11 มกราคม 2556) รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด  มอบนโยบายให้กระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น จัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และให้นำข้อสรุปแผนความต้องการงบลงทุนเบื้องต้นปีงบประมาณ พ.ศ.  2557 ไปจัดทำคำของบประมาณายจ่ายประจำปี
  วันที่ 22 มกราคม – วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 (จากเดิม วันที่ 9 มกราคม – วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่น จัดทำรายละเอียดวงเงินและคำของบประมาณ พ.ศ. 2557 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 บูรณาการงบประมาณในมิตินโยบายสำคัญของรัฐบาลและบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และประมาณการรายได้ประจำปี เสนอรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งสำนักงบประมาณ
 
5.   เรื่อง  การปรับปรุงระบบการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงระบบการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ดังนี้
 1. อนุมัติให้องค์การสวนยางเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในวงเงิน 5,000 ล้านบาท (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555)
 2. ให้ยกเว้นการค้ำประกันเงินกู้ขององค์การสวนยางกับธานาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส) เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อน เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ค้ำประกันเงินกู้ระหว่าง ธ.ก.ส. กับสถาบันการเงินแหล่งเงินกู้แล้ว
 3. มอบหมายให้องค์การสวนยาง ส่งรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555) ให้คณะรัฐมนตรีประกอบการพิจารณาต่อไป

6.  เรื่อง ขอความเห็นชอบการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ( ศธ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
    1. เป้าหมายผู้รับทุนโครงการ 1 อำเภอ  1 ทุน รุ่นที่ 4 จำนวน 1,856 ทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      1.1  ผู้รับทุนประเภท 1 หมายถึง ผู้รับทุนที่มีผลการเรียนดี ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 928 ทุน/อำเภอ/เขต
      1.2 ผู้รับทุนประเภท 2 หมายถึง ผู้รับทุนที่มีผลการเรียนดีไม่จำกัดรายได้ครอบครัว ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมุ่งเน้นสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์ (วิเคราะห์จากทิศทางการพัฒนาประเทศ) จำนวน 928 ทุน/อำเภอ/เขต ซึ่งจะดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อผลิตกำลังคนในสาขาขาดแคลนเน้นด้านวิทยาศาสตร์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ดำเนินการต่อเนื่องไม่เกิน 3 รุ่น
    2. ประเทศที่จะให้ไปศึกษา
      2.1 ทุนประเภท 1 ศึกษาในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักจำนวน 35 ประเทศ ได้แก่
         - ทวีปอเมริกา ได้แก่ แคนาดา อาร์เจนตินา ชิลี เม็กชิโก และบราซิล
         - ทวีปยุโรป ได้แก่ เบลเยี่ยม ฮังการี โปรตุเกส ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์และรัสเซีย
         - ทวีปเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรต ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย
         - ทวีปแอฟริกา ได้แก่ อียิปต์และแอฟริกาใต้
  ยกเว้น หากผู้ได้รับทุนประเภท 1 มีความประสงค์ศึกษาในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก จะต้องเป็นกลุ่มสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น
 3. วิธีการคัดเลือกผู้รับทุน
      3.1 สอบข้อเขียน สอบพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งทุนประเภท 1 และทุนประเภท 2 โดยใช้ข้อสอบกลางวัดความรู้ในรายวิชาคณิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน
      3.2 สอบสัมภาษณ์ ผู้สอบผ่านข้อเขียนที่มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ต้องได้คะแนนรวมวิชาคณิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของแต่ละอำเภอ/เขต กรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันให้ถือเป็นผู้สอบได้ในอันดับเดียวกัน
      3.3 เกณฑ์การตัดสิน สำหรับทุนทั้ง 2 ประเภทพิจารณาจากสัดส่วนคะแนนคือ คะแนนสอบข้อเขียนคิดร้อยละ 90 และคะแนนสอบสัมภาษณ์คิดร้อยละ 10 ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับทุนของอำเภอ/เขตนั้น ๆ
 4. เงื่อนไขและข้อผูกพัน ผู้รับทุนทั้งสองประเภทที่สำเร็จการศึกษาจะต้องทำงานในประเทศ ซึ่งสามารถเลือกปฏิบัติงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตามความประสงค์ของผู้รับทุน สำหรับผู้รับทุนประเภท 2 ให้ชดใช้ทุนโดยกลับมาทำงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ผู้รับทุนได้รับทุนตามสัญญา หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญา ให้ชดใช้เงินคืนตามจำนวนที่ใช้ไปพร้อมเบี้ยปรับจำนวนหนึ่งเท่า

7. เรื่อง การอนุมัตินำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากลาวและกัมพูชาผ่านองค์การคลังสินค้า
  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 
  1. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.)  นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากลาวในอัตราภาษีนำเข้า
ร้อยละ 0 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม ประมาณ 2 แสนตัน
  2. อนุมัติให้ อคส. นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกัมพูชาในอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0  เพื่อ
นำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ ช่วงเดือนสิงหาคม 2556 ประมาณ 1 แสนตัน และเดือนพฤศจิกายน 2556 – มกราคม 2557 ประมาณ 1.5 แสนตัน

8. เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ  พ.ศ. 2542
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าจำนวน 40 รายการ   และบริการ จำนวน      3 รายการ รวม 42 รายการ ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ให้เป็นสินค้าบริการควบคุม ในปี 2556 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
   1. รายการสินค้าและบริการควบคุมเดิม จำนวน 42 รายการ ได้แก่ 
หมวดอาหาร จำนวน 14 รายการ คือ (1) กระเทียม (2) ข้าวเปลือก ข้าวสาร (3) ข้าวโพด
(4) มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (5) ไข่ไก่  (6) สุกร เนื้อสุกร (7) น้ำตาลทราย (8) น้ำมันและไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ (9) ครีมเทียมข้นหวาน นมข้น  นมคืนรูป  นมแปลงไขมัน (10) นมผง นมสด (11) แป้งสาลี (12) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  (13) อาหารกึ่งสำเร็จรูป บรรจุภาชนะผนึก
      หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน จำนวน 3 รายการ คือ (14) ผงซักฟอก (15) ผ้าอนามัย (16) กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า
      หมวดปัจจัยทางการเกษตร จำนวน 9 รายการ คือ (17) ปุ๋ย (18) ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช (19) หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ (20) เครื่องสูบน้ำ (21) รถไถนา (22) รถเกี่ยวข้าว (23) เครื่องวัดความชื้นข้าว (24) เครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าว (25) เครื่องชั่งวัดอัตราส่วนร้อยละของแป้งในหัวมัน
      หมวดวัสดุก่อสร้าง จำนวน 3 รายการ คือ (26) ปูนซีเมนต์ (27) เหล็กเส้น เหล็ก โครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น (28) สายไฟฟ้า
      หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ คือ (29) กระดาษทำลูกฟูก กระดาษเหนียว (30) กระดาษพิมพ์และเขียน (31) เยื่อกระกาษ
      หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง จำนวน 3 รายการ ได้แก่ (32) แบตเตอรี่รถยนต์ (33) บางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ (34) รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก
      หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จำนวน 3 รายการ ได้แก่ (35) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว  (36) น้ำมันเชื้อเพลิง (37) เม็ดพลาสติก
      หมวดยารักษาโรค จำนวน 1 รายการ คือ  (38) ยารักษาโรค
      หมวดอื่น ๆ จำนวน 1 รายการ คือ (39) เครื่องแบบนักเรียน
      หมวดบริการ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ (40) การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า (41) บริการรับฝากสินค้าหรือบริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า (42) บริการทางการเกษตร (ค่าจ้าง เก็บเกี่ยวข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ค่าจ้างนวดข้าว ค่าจ้างสีข้าว เป็นต้น)
   2. เพิ่มรายการสินค้าควบคุมจำนวน 1 รายการ คือ ผลปาล์มน้ำมัน (เป็นรายการที่ 43) เนื่องจากปริมาณการผลิตผลปาล์มน้ำมันมีความผันผวนมาก ในบางช่วงผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยเกิดปัญหาการขาดแคลนและราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ และในบางช่วงผลปาล์มออกสู่ตลาดมาก  เกิดปัญหาราคาผลปาล์มตกต่ำส่งผลกระทบต่อเกษตรกร
ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบรายการสินค้า / บริการควบคุมดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จะได้ออกประกาศเพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

9.  เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ....
  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ 
   สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
     1. กำหนดบทนิยาม คำว่า “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” หมายถึง พื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งหรือหลายแห่งที่ได้รับสนับสนุนจากรัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการค้าสินค้าหรือบริการ หรือการลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการค้าบริเวณพรมแดนและการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาระบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จที่สอดคล้องกับระบบ ASEAN Single Window และบทนิยามอื่น ๆ ได้แก่ “การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ” “การค้าบริเวณพรมแดน” “แผนแม่บท” “การพัฒนาพื้นที่” “หน่วยงาน” และ “หน่วยงานรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ”
     2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนการค้าไทย ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสิบคน เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
    3. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการที่สำนักงานเสนอ ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานตามที่สำนักงานร้องขอ กำหนดแนวทางเพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาการค้าบริเวณพรมแดนและการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท
    4. กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นหน่วยงานภายใน สศช. มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ร่างแผนแม่บทเพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ตรวจสอบและวิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติของหน่วยงาน อำนวยการ ติดตามผล และประสานงานการบริหาร และการปฏิบัติตามแผนแม่บท รวมทั้งสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5. กำหนดให้ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการนโยบายฯ คณะอนุกรรมการนโยบายฯ หรือคณะทำงานที่คณะกรรมการนโยบายฯ แต่งตั้ง ค่าใช้จ่ายของสำนักงาน  และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นให้จ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    6. กำหนดให้หน่วยงานที่ประสงค์จะรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจจัดทำร่างแผนแม่บทเสนอคณะกรรมการนโยบาย เพื่อพิจารณา โดยผ่านความเห็นชอบของกระทรวงเจ้าสังกัด
    7. กำหนดให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนแม่บท จัดทำแผนงานหรือโครงการ และส่งให้หน่วยงานรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อรวบรวมตรวจสอบและวิเคราะห์แล้วจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ และนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป ในการดำเนินการจัดทำแผนงานหรือโครงการให้หน่วยงานที่จัดทำให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่นั้นประกอบด้วย
    8. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด หรือไม่สอดคล้องกับแผนแม่บท แผนปฏิบัติการและแผนงานโครงการ หรือวิธีการดำเนินกิจการที่กำหนดตามระเบียบนี้

10. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลออกไปอีก 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
   สาระสำคัญ
   กำหนดให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
   ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า  เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2556 แต่โดยที่ขณะนี้ราคาขายปลีกน้ำมันยังคงมีราคาสูง ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในระยะนี้จะทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน กระทรวงการคลังจึงเห็นควรขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 ต่อลิตร และน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน

11. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

12. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายภุชงค์ โพธิกุฎสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการปกครอง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป


13. เรื่อง ขออนุมัติการเปิดสถานกงสุลและการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเปรูประจำจังหวัดขอนแก่น 
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในการที่รัฐบาลสาธารณรัฐเปรูเสนอการเปิดสถานกงสุลสาธารณรัฐเปรูประจำจังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดขอนแก่น และแต่งตั้งนายณัฐพล ประคุณศึกษาพันธ์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเปรูประจำจังหวัดขอนแก่น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

14. เรื่อง รัฐบาลสาธารณรัฐโคลอมเบียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย 
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ว่า รัฐบาลสาธารณรัฐโคลอมเบียมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายอันเดลโฟ โฆเซ การ์เซีย กอนซาเลซ (Mr. Andelfo Jose Garcia Gonzalez) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นางซิลบีอา  กัสตาโญ เด กอนซาเลซ (Mrs. Silvia Castano de Gonzalez) ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

(มีต่อ)


*******************************************

ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค)

$
0
0
ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค)

นายกรัฐมนตรี ย้ำให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง 1 ควบคู่การท่องเที่ยวการบริการ และการเกษตรแบบครบวงจร รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

วันนี้ (20ม.ค.56) เวลา 17.30 น. ณ Conference Room 1 ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค) ครั้งที่ 1/2556  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ก่อนเข้าสู่การประชุม นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภต่อที่ประชุมฯ รับทราบในประเด็นต่าง ๆ ที่จะต้องมีการบูรณาการเชื่อมโยงกัน คือ1. ด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)   2. ด้านการท่องเที่ยว  ระดับสากลที่จะรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในส่วนของต่างประเทศ ในฐานะที่เขตเศรษฐกิจที่จังหวัดนี้เป็นมรดกโลก  ที่จะต้องร่วมกันพัฒนาให้เกิดศูนย์กลางที่นี่อย่างไร  และ3.  เรื่องของภาคการเกษตร ที่จะต้องหารือกัน เพราะปีนี้รัฐบาลเน้นให้ความสำคัญในลักษณะของกลุ่มจังหวัดมากขึ้น (Cluster) เพื่อให้เกิดกลุ่มจังหวัดของการที่จะผสมผสานและการวางโครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน  โดยเฉพาะรูปแบบของการวางระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะร่วมกับภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และสามารถอำนวยความสะดวก โดยจะเอายุทธศาตร์ของประเทศเป็นตัวนำ จะได้ขับเคลื่อนในส่วนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดก็จะเดินหน้าไปด้วยกัน  เช่น กรณีเรื่องของการท่องเที่ยวซึ่งมีมรดกโลก คือ อุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยและในส่วนอุทยานประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร จะทำอย่างไรให้มีการบูรณาการของกลุ่มจังหวัดนี้ร่วมกัน

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งที่สะท้อนไม่ใช่แค่ในเชิงของวัฒนธรรมอย่างเดียว แต่สามารถรวมเรื่องของการท่องเที่ยว การบริการ (สปา) อาหาร  ที่เป็นอาหารในเชิงของวัฒนธรรม  การละเล่นพื้นบ้าน  รวมไปถึงการบริการและงานฝีมือ ภูมิภาคแถบนี้ได้ชื่อว่า  เป็นภูมิภาคที่มีแรงงานระดับฝีมือชั้นสูง  แต่ยังไม่มีการบูรณาการร่วมกันทั้งหมด   ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ รัฐบาลอยากเห็นการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ คือภาคเหนือตอนล่างถือเป็นเรื่องสำคัญ  ถ้ามีการร่วมกันบูรณาการอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์เชื่อได้ว่า  การพัฒนาต่างๆ  ก็จะมีการขับเคลื่อนในกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคแถบเดียวกัน    หรือตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า การประชุมในวันนี้  เพื่อร่วมกันหารือในส่วนของการพัฒนา โดยเน้นยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมถึงการพัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน และเพื่อให้ภาคเอกชนได้เกิดการลงทุนขึ้น ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะเอื้ออำนวย โดยภาครัฐจะเน้นรูปแบบของการลงทุนเป็นสองส่วนคือ การลงทุน SME  และการลงทุนในส่วนของบริษัทขนาดใหญ่  ที่จะต้องมีการหารือร่วมกัน

สำหรับในส่วนของอาเซียนนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า รัฐบาลมองในส่วนของกลุ่ม SME  ส่วนทางด้านของสายการบินต่าง ๆ นั้น ไม่ควรมองเฉพาะในเรื่องสายการบินระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองสายการบินต้นทุนต่ำ ที่เชื่อมเส้นทางการบินระหว่างภูมิภาคภายในประเทศในส่วนนี้ให้ดีขึ้นต่อไป

จากนั้นที่ประชุมฯ ได้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ  ประกอบด้วย 4 ด้าน 6 เรื่อง และประเด็นอื่นๆ 5 เรื่อง รวม 11 เรื่อง  ดังนี้

1. การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เร่งรัดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แม่สอด จังหวัดตาก ภายในปี 2558 และพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (ผู้แทน กกร. และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง) ขึ้นภายใต้กรอบคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และความคืบหน้าการส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก เช่น ปัญหารถบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักเกิน 25 ตัน ปัญหาโครงสร้างที่ชำรุด เป็นต้น ส่วนในระยะยาว มอบหมายสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สศช. จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในภาพรวม โดยตั้งคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และให้นำข้อเสนอการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดมาพิจารณาในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย   (2) เร่งรัดยกระดับด่านภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นด่านถาวรที่ประชุมฯ มอบหมายให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปดำเนินการเร่งรัดการยกระดับด่าน กระทรวงการต่างประเทศรับไปติดตามความคืบหน้าในการประสานกับ สปป.ลาว และกระทรวงมหาดไทยรับไปวางแผนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าของจังหวัดชายแดนที่มีศักยภาพการดำเนินการ

2. การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เร่งรัดโครงการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) จาก 2 ช่องทางจราจร เป็น 4 ช่องทางจราจร ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม รับไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก – หล่มสัก) จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 โดยการดำเนินการตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2554 และ (2)การขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทบทวนโครงการศึกษาและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางภาคเหนือตอนล่างและสี่แยกดินโดจีน เพื่อให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการและมอบหมายกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพหลักในการศึกษาทบทวนโครงการฯ โดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการมีส่วนในการดำเนินโครงการฯ และมีความเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางและจังหวัดโดยรอบ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการและขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป โดยให้หารือกับภาคเอกชนด้วย

3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย 1 เรื่อง ได้แก่ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วงเงิน 248.50 ล้านบาท ที่ประชุมฯ มอบหมายให้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กบอ. รับไปพิจารณาโดยประสานงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย

4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ ประกอบด้วย 1 เรื่อง ได้แก่ การขอรับสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเป็น Medical Excellent Centre/Medical Tourism  วงเงิน 2,900 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติมอบหมายกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รับไปพิจารณารายละเอียดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็น Medical Excellence Centre/ Medical Tourism และจัดลำดับความสำคัญในส่วนที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ รวมทั้งให้พิจารณาร่วมกับยุทธศาสตร์จังหวัดประกอบด้วย

ส่วนประเด็นอื่นซึ่งประชุมฯ ได้มีการหารือนั้น  ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่  1. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการยกระดับบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและทั่วประเทศ วงเงินรวม 60 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม (เสนอโดย สทท.)  ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานรับไปดำเนินการพัฒนาบุคลากรในภาคท่องเที่ยวให้ทันฤดูท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน และมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเร่งดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดของโครงการและสนับสนุนงบประมาณต่อไป รวมทั้งมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท่องเที่ยวที่จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย

2. มาตรการเร่งด่วนเพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย (1) สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ในอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นระยะเวลา 8 ปี ตลอดจนเร่งผลักดันและสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (bio-plastics) และชีวเคมี (bio-chemicals) และ (2) สำหรับมาตรการส่งเสริมด้านอื่นๆ ตามแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2554-2558) ขอให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการพิจารณาทบทวนและปรับตามความเหมาะสม ที่ประชุมฯ ได้มอบมอบหมายให้ กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพดำเนินการร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูรณาการการทำงานร่วมกันตั้งแต่การกำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริม ตลอดจนเลือกจังหวัดต้นแบบการดำเนินการ พร้อมทั้งให้หารือกับภาคเอกชน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพดำเนินการ และให้หารือร่วมกับ กระทรวงการคลัง กำหนดมาตรการการคลังเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานต่อไป

3.ขอทราบความชัดเจนนโยบายการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ด้านระบบราง ประกอบด้วย (1) โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง (2) โครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง และ (3) การเพิ่มเส้นทางรถไฟ และการเพิ่มเส้นทางรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางที่ประชุมฯ ได้มอบหมายกระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ด้านระบบรางของประเทศในภาพรวมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานระบบรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4 การเร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินการและการติดตามความ ก้าวหน้าผลการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นรูปธรรม ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ สศช. รับไปพิจารณาเร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ เพื่อดำเนินการและติดตามความก้าวหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

 

--------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมสัมมนา เรื่อง การมอบนโยบายสำหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศและการชี้แจงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

$
0
0
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมสัมมนา เรื่อง การมอบนโยบายสำหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศและการชี้แจงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หัวหน้าส่วนราชการทุกกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเน้นบูรณาการการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและนำไปสู่ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

วันนี้ (22 ม.ค.56) ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมสัมมนา เรื่อง การมอบนโยบายสำหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศและการชี้แจงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ทั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 500 คน

ในโอกาสนี้  นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมสัมมนาฯ สรุปความว่า  นายกรัฐมนตรีขอบคุณหน่วยราชการทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ในช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมาในการร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนประเทศไทย จนสามารถฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ ไปได้  แม้ว่า ที่ผ่านมาจะประสบภาวะวิกฤตหลายครั้ง ทั้งภาวะเกิดมหาอุทกภัย หรือภาวะวิกฤตทางสถานการณ์ทางการเมือง แต่รัฐบาลก็ได้รับความเสียสละจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนจนสถานการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่สภาวะปกติ

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อไปถึงการจัดทำงบประมาณดังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีต้องการเห็นการบูรณาการจัดทำงบประมาณในการรวบรวมการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละประเด็นต่างๆ  ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ มีการประสานสอดคล้องและส่งเสริมตลอดจนสนับสนุนซึ่งกันและกันจนกระทั่งเกิดผลสัมฤทธิ์ในการใช้จ่ายงบประมาณที่เป็นไปอย่างเหมาะสม และบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ มีความสอดคล้องกับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล  ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบประมาณปี 2557 เป็นปัจจัยบวกที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

ยุทธศาสตร์ประเทศที่รัฐบาลจะมุ่งเน้นในระยะต่อไปประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
เป้าหมาย: เศรษฐกิจขยายตัว 5-6%, รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 544,213 บาท/คน/ปี (ปี 2570) พัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต & รักษาฐานอุตสาหกรรมและบริการเดิม เพิ่มขีดความสามารถ SMEs & OTOP การจัดการใช้ที่ดินประเทศ (Zoning)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
เป้าหมาย: ความยากจนลดลง มีการกระจายรายได้มากขึ้น เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาระบบสวัสดิการ เพิ่มศักยภาพและโอกาสความเท่าเทียม
ผลิตและพัฒนาแรงงาน และผู้ประกอบการ เด็ก พร้อมคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ สตรี และผู้ด้อยโอกาส

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป้าหมาย: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จัดการทรัพยากรธรรมชาติและบริหารจัดการน้ำ  จัดทำนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม  พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
เป้าหมาย: กลไกภาครัฐมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ปรับโครงสร้างระบบราชการ พัฒนากฎหมาย  แก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้  การลดคอรัปชั่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่น  การบูรณาการเชิงพื้นที่

ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำถึงเป้าหมายอนาคตของประเทศ โดยขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในวันนี้ นำหลัก “คิดบวก” ไปจัดการในการบูรณาการงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า ทำให้ประชาชนมีรายได้ครัวเรือนดีขึ้น  เศรษฐกิจหมุนเวียน ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น และเป็นประเทศแห่งศูนย์กลางเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน มีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่สำคัญคือ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและนำพาประเทศสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

 

***************

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
ดวงใจ / รายงาน

นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะตรวจเยี่ยมดูสภาพความคับคั่งการจราจรบริเวณสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ แห่งที่ 1

$
0
0
นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะตรวจเยี่ยมดูสภาพความคับคั่งการจราจรบริเวณสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ แห่งที่ 1

นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ แห่งที่ 1 ดูสภาพความคับคั่งของการจราจร-หาแนวทางการแก้ไขปัญหาความแออัดของสภาพการจราจรและการขนถ่ายสินค้า

วันนี้ (20 ม.ค.56) เวลา 09.30 น. ณ บริเวณสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ แห่งที่ 1 ตลาดริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาร์ แห่งที่ 1ดูความคับคั่งของการจราจร การแก้ไขปัญหาความแออัดของสภาพการจราจรและการขนถ่ายสินค้า รวมถึงการสำรวจความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 2 และถนนเชื่อมโยงในการแก้ปัญหาความแออัดในการคมนาคมขนส่งผ่านแดน  โดยมี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนประชาชนอำเภอแม่สอดและใกล้เคียง ให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก

โดยกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาร์  แห่งที่ 1  คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557  และให้เทศบาลนครแม่สอดพิจารณาลงทุนจัดสร้างสถานที่ขนถ่ายสินค้าบริเวณถนนที่จะเข้าสู่สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 1 ขณะเดียวกันจะเร่งก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาร์ แห่งที่ 2 โดยกระทรวงคมนาคมรายงานว่าได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมแล้ว ซึ่งจะใช้งบประมาณดำเนินการตามแผนงบประมาณปี 56 - 58 ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนต่อไปถึงเมืองกอกะเร็กของเมียนมาร์อย่างเป็นระบบและครบวงจรแล้ว

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำรายละเอียดผลการศึกษาทั้งหมดมาพิจารณาอย่างรอบคอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ สักลอ รายงาน

ธวัชชัย คุ้มคลองโยง ถ่ายภาพ

นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก รับฟังบรรยายสรุปเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

$
0
0
นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก รับฟังบรรยายสรุปเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

นายกรัฐมนตรีและคณะลงพื้นที่ อ.แม่สอด รับฟังบรรยายสรุปติดตามเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด พร้อมรับฟังข้อเสนอการพัฒนาการค้าชายแดนจากภาคเอกชน

วันนี้ (20 ม.ค.56) เวลา 10.10 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าอัญมณีและการท่องเที่ยว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ รับฟังบรรยายสรุปเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด โดยมี นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก ผู้บริหารส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดตาก ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ

ผู้ว่าราชการจังหวัดตากกล่าวบรรยายสรุปข้อมูลพื้นฐานจังหวัดตากว่า จังหวัดตากมีพื้นที่ 16,406  ตร.กม. มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ และลำดับที่ 2 ของภาคเหนือ รองมาจากจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ป่าไม้คิดเป็น 70% ของพื้นที่ทั้งหมด   การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ แบ่งเป็นพื้นที่ฝั่งตะวันออก 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอวังเจ้า มี 5 อำเภอฝั่งตะวันตกติดชายแดน ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง  ฝั่งตะวันตกมีเนื้อที่คิดเป็น 65% ของเนื้อที่ทั้งหมด  การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 1 อบจ.  1  เทศบาลนคร 1  เทศบาลเมือง 14  เทศบาลตำบล  52  อบต. 63  ตำบล 559  หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 531,018 คน มีชนเผ่า 6 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ ลีซอ เย้า และอีก้อ จำนวน 196,889 คน

ผู้ว่าราชการกล่าวต่อไปว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตาก (2557-2560) คือ 1.ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งมีศักยภาพด้านพื้นที่ ทำให้มีความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์  และธรรมชาติ เช่น น้ำตกทีลอซู  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระธาตุบ้านตาก ไม้กลายเป็นหิน  2. การพัฒนาสินค้า OTOP และแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นการจัดระดับผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเภทตามศักยภาพของผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  3. การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการทำความเข้าใจพร้อม ๆ กับส่งเสริมการปลูกป่า ไม้ผลยืนต้น และปลูกกาแฟ สร้างรายได้ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ แทนการเก็บของป่าทำไร่หมุนเวียน ทำการเกษตรพืชเชิงเดียว ซึ่งมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกล้ำพื้นที่ป่า และ 4.การพัฒนาด้านการค้าและการลงทุน เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงเส้น East – West Economic Corridor (EWEC) เปรียบเสมือนประตูสู่อาเซียนที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการขยายการส่งออกและในด้านการค้าและการลงทุน และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตากบรรยายสรุปเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดว่า ปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนแม่สอด มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีมูลค่าการค้าสูงประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2555 มูลค่าการค้าชายแดนไทย – พม่า เติบโตสูงถึง 80% จากปี 2554 คิดเป็นมูลค่าการค้ารวม 39,337 ล้านบาท โดยสินค้าหลักในการส่งออก 10 อันดับแรกของปี 2555 คือ เบียร์ทำจากมอลต์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันพืช ผ้าพิมพ์ฝ้าย น้ำมันดีเซล โทรทัศน์ ผงชูรส กาแฟชนิดผลสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์ และยารักษาโรค สำหรับสินค้านำเข้า 10 อันดับแรกปี 2555 คือ เฟอร์นิเจอร์และสิ่งประดิษฐ์ไม้ โค – กระบือมีชีวิต สินค้าอื่นๆ กระเพาะปลาตากแห้ง สินแร่พลวง ปลาเบญจพรรณ ปลายข้าว 100 % ถ่านไม้สัก – ไม้แดง แร่เหล็ก และรถจักรยานเก่าใช้แล้ว  ทั้งนี้ ปัญหาอุปสรรคการค้าชายแดนแม่สอดคือสะพานมิตรภาพไทย – พม่า ที่ชำรุดไม่สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น และไม่สามารถรับปริมาณการส่งออกและรถบรรทุกที่มีจำนวนมาก รวมไปถึงไม่สามารถรองรับรถบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักเกินกว่า 25 ตันขึ้นไป ทำให้ต้องถ่ายเทสินค้าลงจากรถแล้วบรรทุกรถเล็กขนข้ามสะพานอีกทีทำให้เสียเวลาในการขนส่ง

ประธานหอการค้าจังหวัดกล่าวต่อไปว่าสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการเห็นการพัฒนาการค้าชายแดนไทย – พม่า คือ การจัดตั้งเขตการค้าการลงทุนร่วมแม่สอด – เมียวดี โดยเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นทั้งสองประเทศ เพื่อให้คำปรึกษาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการสำรวจ/ออกแบบ พื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด 14,753 ไร้ให้เป็นรูปธรรม พร้อมเปิดรองรับ AEC ในปี 2558  การเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับความเป็น Connectivity ของอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยพม่าแห่งที่ 2 และถนนเชื่อมโยง จัดทำศูนย์ One stop service คอยให้บริการโดยรวมส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน พัฒนาถนนเส้นทางตาก – แม่สอด ให้เป็นทางสมัยใหม่ มีการเจาะอุโมงค์ และทำสะพานเชื่อมเพื่อย่นระยะทาง ขยายท่าอากาศยานแม่สอด ผลักดันให้มีการบินเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพมหานคร – แม่สอด – ย่างกุ้ง และเส้นทาง กรุงเทพมหานคร – แม่สอด – เมาะละแหม่ง และให้รัฐบาลเจรจาให้มีการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างชายแดนไทย – พม่า โดยใช้บอร์เดอร์พาส ตามข้อตกลงไทย – พม่า ว่าด้วยเรื่องการข้ามแดนปี 1997 ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยรองรับเป็นประตูตะวันตกเชื่อมโยงระบบ Connectivity รองรับ AEC ในปี 2558 เพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน ได้ประโยชน์ร่วมกันตามข้อตกลงในเขตการค้าเสรี และสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีกรอบลงทุนขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน ทั้งพื้นที่และเงินทุนที่สามารถตอบสนองนักลงทุนได้ รวมไปถึงประโยชน์ในการกำหนดพื้นที่ให้ควบคุมปัญหาด้านความมั่นคงได้ทั้งด้านแรงงานและด้านอื่นๆ ต่อไป

 

------------------------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์

นราวุธ รายงาน

ธวัชชัย ถ่ายภาพ

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมรดกโลก

$
0
0
นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมรดกโลก

นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมรดกโลกและสักการะวัดโบราณอายุ 755 ปี ที่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

วันนี้ (20 ม.ค.56) เวลา 14.50 น. ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมรดกโลก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมรดกโลกและสักการะวัดโบราณอายุ 755 ปี โดยมีนายสนธยา  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายบัณฑิต ทองอร่าม รักษาราชการหัวหน้าอุทยานฯ และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ คอยให้การต้อนรับ

นายบัณฑิต ทองอร่าม รักษาราชการหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยกล่าวบรรยายสรุปว่า อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมีพื้นที่ 28,217 ไร่ หรือ 45.14 ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย  ตำบลสารจิตร  ตำบลหนองอ้อ  ตำบลท่าชัย  อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันสำรวจพบโบราณสถานทั้งสิ้น 282 แห่ง โดยได้รับการขุดแต่ง - บูรณะแล้วจำนวน 74 แห่ง หรือ 26% ของโบราณสถานทั้งหมด  อาทิ  วัดช้างล้อม  วัดเจดีย์เจ็ดแถว  วัดนางพญา  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง  และแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น

ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีและคณะได้นั่งรถรางเยี่ยมชมโบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประกอบไปด้วย 1) วัดช้างล้อม ซึ่งมีลักษณะเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ประกอบไปด้วยเจดีย์ประธาน 1 องค์ , เจดีย์ราย 2 องค์  วิหารประธาน 1 หลัง  วิหารแกลบ 2 หลังและศาลาขนาดเล็ก 1 หลัง  เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกาบนฐานทักษิณสูง  รอบฐานทักษิณมีประติมากรรมลอยตัวรูปช้างประดับอยู่โดยรอบซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะลังกาดังเช่นที่สถูปรุวันเวลิ  บนฐานทักษิณมีซุ้มจรนัมประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยอยู่โดยรอบ   ส่วนองค์ระฆังตั้งอยู่เหนือชั้นบัวถลาและบัวปากระฆัง  รองรับบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมที่ทำเป็นชุดบัวลูกฟัก  ที่ก้านฉัตรประดับด้วยประติมากรรมนูนสูงรูปพระพุทธรูปปางลีลา วิหารประธานเป็นอาคารโถงขนาด 6 ห้อง  ก่อด้วยศิลาแลงหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา และ 2) วัดนางพญา มีลักษณะแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ประกอบไปด้วยวิหารประธาน 1 หลัง  อุโบสถ 1 หลัง  เจดีย์ประธาน 1 องค์และเจดีย์ราย 2 องค์    เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกาที่สร้างขึ้นเลียนแบบเจดีย์ประธานวัดช้างล้อม  วิหารประธานเป็นอาคารทึบขนาด 7ห้อง  ก่อด้วยศิลาแลง หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา  ผนังทึบเจาะช่องแสงเป็นลูกกรงสี่เหลี่ยม  ผิวปูนฉาบด้านนอกของวิหารประดับลายปูนปั้นอันวิจิตร  ที่แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ( ลวดลายพันธุ์พฤกษาอันอ่อนช้อย ) และศิลปะจีน  ซึ่งลวดลายประดิษฐ์ต่างๆ เช่น ลายกรอบลูกฟัก ลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่เกิดจากลาย “ยู่อี่” ประกอบกัน 4 อัน ( ยู่อี่ เป็นสัญลักษณ์มงคลของจีนที่พัฒนามาจากกระบี่สั้นที่ชาวจีนนิยมให้กันในวันมงคล มีความหมายว่า ขอให้สมหวังดังปรารถนา ) ลายค้างคาว (สัญลักษณ์มงคลของจีน หมายถึง อายุขัยที่ยืนยาว )  แต่ลายค้างคาวที่วัดนางพญานี้ได้พัฒนาจากรูปค้างคาวมาเป็นลายกระหนกแล้วแต่ยังคงรักษารูปทรงของค้างคาวสยายปีกอยู่  ปัจจุบันลวดลายปูนปั้นบนผนังวิหารวัดนางพญาสามารถทำเงินรายได้ให้กับชาวอำเภอศรีสัชนาลัยเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากช่างฝีมือท้องถิ่นได้คัดลอกลวดลายปูนปั้นแล้วนำไปพัฒนาทำเป็นลวดลายบนเครื่องประดับที่รู้จักกันในนาม "ทองโบราณศรีสัชนาลัย”

ภายหลังการเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเยี่ยมชมโครงการคุณแม่วัยใส และเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและหอพักผู้ป่วย 4 ชั้น

------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ สักลอ รายงาน

ธวัชชัย คุ้มคลองโยง ถ่ายภาพ


นายกรัฐมนตรีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและห้องพักผู้ป่วย 4 ชั้น โรงพยาบาลลับแล จ.อุตรดิตถ์

$
0
0
นายกรัฐมนตรีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและห้องพักผู้ป่วย 4 ชั้น โรงพยาบาลลับแล จ.อุตรดิตถ์

นายกรัฐมนตรีและคณะ ตรวจเยี่ยมโครงการคุณแม่วัยใส ณ อาคารส่งเสริมสุขภาพ (คลินิกใจสว่าง) และเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและห้องพักผู้ป่วย 4 ชั้น

วันนี้ (20 ม.ค.56) เวลา 16.40 น. ณ โรงพยาบาลลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ตรวจเยี่ยมโครงการคุณแม่วัยใส ณ อาคารส่งเสริมสุขภาพ (คลินิกใจสว่าง) และเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและห้องพักผู้ป่วย 4 ชั้น โดยมีนายประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข  ให้การต้อนรับ

นายแพทย์กิตติพงศ์ อุบลสะอาด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลับแลกล่าวรายงานว่า โรงพยาบาลลับแลเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2535 มีประชากรในเขตรับผิดชอบ 62,203 คน ในปีงบประมาณ 2555 มีผู้ป่วยมารับบริการประเภทคนไข้นอก จำนวน 22,855 คน จำนวน 100,214 ครั้ง คิดเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยนอกมาใช้บริการจำนวน 313 รายต่อวัน ปัจจุบันมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมากทำให้จำนวนเตียงที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการให้บริการ และอาคารที่พักของบุคลากรมีไม่เพียงพอ เพื่อให้การบริการผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ก่อสร้างอาคารส่งเสริมสุขภาพและพักผู้ป่วย 4 ชั้น ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง จำนวน 44,899,200 บาท อาคารผู้ป่วยพิเศษ 20 ห้อง ใช้งบประมาณ จำนวน 11,600,000 บาท และอาคารพักพยาบาล ใช้งบประมาณ จำนวน 9,570,000 บาท โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในการก่อสร้างทั้งหมด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลับแลกล่าวต่อไปว่า ในอนาคตต้องการให้โรงพยาบาลลับแลเป็นโรงพยาบาลทั่วไปให้บริการคู่ขนานกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งมีปริมาณการให้บริการผู้ป่วยแออัด มีอาคารให้บริการที่จำกัดเกินความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มช่องทางให้บริการผู้ป่วยเนื่องจากโรงพยาบาลลับแลมีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก มีถนนจำนวน 4 ช่องจราจรผ่านหน้าโรงพยาบาล

หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารส่งเสริมสุขภาพและห้องพักผู้ป่วย 4 ชั้น จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทักทายพบปะผู้นำชุมชน อสม. กลุ่มแม่บ้าน และประชาชนที่มาให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตรวจเยี่ยมโครงการคุณแม่วัยใส ณ อาคารส่งเสริมสุขภาพ (คลินิกใจสว่าง) ซึ่งเป็นศูนย์บริการสำหรับคุณแม่วัยใส เน้นการบริการใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ดำเนินงานป้องกันเชิงรุกในชุมชน สร้างเครือข่ายป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่น ให้คำปรึกษารายบุคคลแบบ one stop service พร้อมประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือ ติดตามเยี่ยมถึงบ้าน ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร สนับสนุนด้านอาชีพ นมเลี้ยงเด็ก และการศึกษา โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามความเป็นอยู่ทั่วไปของตัวแทนคุณแม่วัยใสอายุระหว่าง 15 – 17 ปี พร้อมกล่าวให้กำลังใจ ขอให้เข้มแข็งเดินหน้าต่อไป ดูแลลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันบูรณาการการทำงานให้ความช่วยเหลือปัญหาเด็กอย่างครบวงจรและเป็นระบบ

 

------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ สักลอ รายงาน

ธวัชชัย คุ้มคลองโยง ถ่ายภาพ

ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค)

$
0
0
ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค)

นายกรัฐมนตรีย้ำให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง 1 ควบคู่การท่องเที่ยวการบริการ และการเกษตรแบบครบวงจร รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วันนี้ (20ม.ค.56) เวลา 17.30 น. ณ Conference Room 1 ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ. ภูมิภาค) ครั้งที่ 1/2556  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ก่อนเข้าสู่การประชุม นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภต่อที่ประชุมฯ รับทราบในประเด็นต่าง ๆ ที่จะต้องมีการบูรณาการเชื่อมโยงกัน คือ1. ด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  2. ด้านการท่องเที่ยว  ระดับสากลที่จะรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในส่วนของต่างประเทศ ในฐานะที่เขตเศรษฐกิจที่จังหวัดนี้เป็นมรดกโลก  ที่จะต้องร่วมกันพัฒนาให้เกิดศูนย์กลางที่นี่อย่างไร  และ 3.  เรื่องของภาคการเกษตร ที่จะต้องหารือกัน เพราะปีนี้รัฐบาลเน้นให้ความสำคัญในลักษณะของกลุ่มจังหวัดมากขึ้น (Cluster) เพื่อให้เกิดกลุ่มจังหวัดของการที่จะผสมผสานและการวางโครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน  โดยเฉพาะรูปแบบของการวางระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะร่วมกับภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และสามารถอำนวยความสะดวก โดยจะเอายุทธศาตร์ของประเทศเป็นตัวนำ จะได้ขับเคลื่อนในส่วนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดก็จะเดินหน้าไปด้วยกัน  เช่น กรณีเรื่องของการท่องเที่ยวซึ่งมีมรดกโลก คือ อุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยและในส่วนอุทยานประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร จะทำอย่างไรให้มีการบูรณาการของกลุ่มจังหวัดนี้ร่วมกัน

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งที่สะท้อนไม่ใช่แค่ในเชิงของวัฒนธรรมอย่างเดียว แต่สามารถรวมเรื่องของการท่องเที่ยว การบริการ (สปา) อาหาร  ที่เป็นอาหารในเชิงของวัฒนธรรม  การละเล่นพื้นบ้าน  รวมไปถึงการบริการและงานฝีมือ ภูมิภาคแถบนี้ได้ชื่อว่า  เป็นภูมิภาคที่มีแรงงานระดับฝีมือชั้นสูง  แต่ยังไม่มีการบูรณาการร่วมกันทั้งหมด   ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ รัฐบาลอยากเห็นการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ คือภาคเหนือตอนล่างถือเป็นเรื่องสำคัญ  ถ้ามีการร่วมกันบูรณาการอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์เชื่อได้ว่า  การพัฒนาต่างๆ  ก็จะมีการขับเคลื่อนในกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคแถบเดียวกัน    หรือตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า การประชุมในวันนี้  เพื่อร่วมกันหารือในส่วนของการพัฒนา โดยเน้นยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมถึงการพัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน และเพื่อให้ภาคเอกชนได้เกิดการลงทุนขึ้น ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะเอื้ออำนวย โดยภาครัฐจะเน้นรูปแบบของการลงทุนเป็นสองส่วนคือ การลงทุน SME  และการลงทุนในส่วนของบริษัทขนาดใหญ่  ที่จะต้องมีการหารือร่วมกัน

สำหรับในส่วนของอาเซียนนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า รัฐบาลมองในส่วนของกลุ่ม SME  ส่วนทางด้านของสายการบินต่าง ๆ นั้น ไม่ควรมองเฉพาะในเรื่องสายการบินระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองสายการบินต้นทุนต่ำ ที่เชื่อมเส้นทางการบินระหว่างภูมิภาคภายในประเทศในส่วนนี้ให้ดีขึ้นต่อไป

จากนั้นที่ประชุมฯ ได้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ  ประกอบด้วย 4 ด้าน 6 เรื่อง และประเด็นอื่นๆ 5 เรื่อง รวม 11 เรื่อง  ดังนี้

1. การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เร่งรัดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แม่สอด จังหวัดตาก ภายในปี 2558 และพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (ผู้แทน กกร. และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง) ขึ้นภายใต้กรอบคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และความคืบหน้าการส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก เช่น ปัญหารถบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักเกิน 25 ตัน ปัญหาโครงสร้างที่ชำรุด เป็นต้น ส่วนในระยะยาว มอบหมายสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สศช. จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในภาพรวม โดยตั้งคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และให้นำข้อเสนอการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดมาพิจารณาในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย   (2) เร่งรัดยกระดับด่านภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นด่านถาวรที่ประชุมฯ มอบหมายให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปดำเนินการเร่งรัดการยกระดับด่าน กระทรวงการต่างประเทศรับไปติดตามความคืบหน้าในการประสานกับ สปป.ลาว และกระทรวงมหาดไทยรับไปวางแผนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าของจังหวัดชายแดนที่มีศักยภาพการดำเนินการ

2. การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ (1) เร่งรัดโครงการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) จาก 2 ช่องทางจราจร เป็น 4 ช่องทางจราจร ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม รับไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก – หล่มสัก) จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 โดยการดำเนินการตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2554 และ (2)การขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทบทวนโครงการศึกษาและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางภาคเหนือตอนล่างและสี่แยกดินโดจีน เพื่อให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการและมอบหมายกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพหลักในการศึกษาทบทวนโครงการฯ โดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการมีส่วนในการดำเนินโครงการฯ และมีความเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางและจังหวัดโดยรอบ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการและขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป โดยให้หารือกับภาคเอกชนด้วย

3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย 1 เรื่อง ได้แก่ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วงเงิน 248.50 ล้านบาท ที่ประชุมฯ มอบหมายให้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กบอ. รับไปพิจารณาโดยประสานงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย

4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ ประกอบด้วย 1 เรื่อง ได้แก่ การขอรับสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเป็น Medical Excellent Centre/Medical Tourism  วงเงิน 2,900 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติมอบหมายกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รับไปพิจารณารายละเอียดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็น Medical Excellence Centre/ Medical Tourism และจัดลำดับความสำคัญในส่วนที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ รวมทั้งให้พิจารณาร่วมกับยุทธศาสตร์จังหวัดประกอบด้วย

ส่วนประเด็นอื่นซึ่งประชุมฯ ได้มีการหารือนั้น  ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่

1. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการยกระดับบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและทั่วประเทศ วงเงินรวม 60 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม (เสนอโดย สทท.)  ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานรับไปดำเนินการพัฒนาบุคลากรในภาคท่องเที่ยวให้ทันฤดูท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน และมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเร่งดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดของโครงการและสนับสนุนงบประมาณต่อไป รวมทั้งมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท่องเที่ยวที่จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย

2. มาตรการเร่งด่วนเพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย (1) สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ในอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นระยะเวลา 8 ปี ตลอดจนเร่งผลักดันและสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (bio-plastics) และชีวเคมี (bio-chemicals) และ (2) สำหรับมาตรการส่งเสริมด้านอื่นๆ ตามแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2554-2558) ขอให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการพิจารณาทบทวนและปรับตามความเหมาะสม ที่ประชุมฯ ได้มอบมอบหมายให้ กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพดำเนินการร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูรณาการการทำงานร่วมกันตั้งแต่การกำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริม ตลอดจนเลือกจังหวัดต้นแบบการดำเนินการ พร้อมทั้งให้หารือกับภาคเอกชน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพดำเนินการ และให้หารือร่วมกับ กระทรวงการคลัง กำหนดมาตรการการคลังเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานต่อไป

3.ขอทราบความชัดเจนนโยบายการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ด้านระบบราง ประกอบด้วย (1) โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง (2) โครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง และ (3) การเพิ่มเส้นทางรถไฟ และการเพิ่มเส้นทางรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางที่ประชุมฯ ได้มอบหมายกระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ด้านระบบรางของประเทศในภาพรวมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานระบบรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4 การเร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินการและการติดตามความ ก้าวหน้าผลการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นรูปธรรม ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ สศช. รับไปพิจารณาเร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ เพื่อดำเนินการและติดตามความก้าวหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

--------------------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักก่อนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่จังหวัดอุตรดิตถ์

$
0
0
นายกรัฐมนตรีสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักก่อนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่จังหวัดอุตรดิตถ์

นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าที่ว่าการองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วันนี้ (21 ม.ค.56) เวลา 07.50 น. ณ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าที่ว่าการองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก โดยมีคณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จังหวัดอุตรดิตถ์ สภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ และสภานักเรียนโรงเรียนแกนนำเครือข่ายคุณภาพประชาธิปไตย คณะครู เจ้าหน้าที่ พร้อมประชาชนมาให้การต้อนรับ

เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก นายกรัฐมนตรีเข้าสักการะและคล้องพวงมาลัยอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้พบปะพูดคุยกับสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ และสภานักเรียนโรงเรียนแกนนำเครือข่ายคุณภาพประชาธิปไตย โดยตัวแทนนักเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ได้อ่านคำกลอนให้นายกรัฐมนตรีซึ่งมีใจความว่า “มอบจากใจให้นางฟ้ายิ่งลักษณ์ ยินดีต้อนรับนางฟ้านายกฯหญิง ผู้เก่งจริงเรื่องงานการสร้างสรรค์ ขอต้อนรับสู่ดินแดนมหัศจรรย์ แดนสวรรค์อุตรดิตถ์เมืองลับแล” พร้อมกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่มอบแท๊บเล็ตให้กับนักเรียนได้นำมาใช้ประกอบการเรียนหนังสือ เสริมสร้างทักษะให้กับเด็กนักเรียน

หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินพบปะประชาชนที่มาให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อพบปะและเยี่ยมชมการดำเนินการให้นักศึกษาผู้ยื่นคำขอรับสินเชื่อกองทุนตั้งตัวได้ และชมบูธของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ ณ หน้าอาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2556 ณ Conference Room 1 ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

----------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ รายงาน

สุนิสา ถ่ายภาพ

นายกรัฐมนตรี เปิด “กองทุนตั้งตัวได้” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อย่างเป็นทางการ

$
0
0
นายกรัฐมนตรี เปิด “กองทุนตั้งตัวได้” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อย่างเป็นทางการ

นายกรัฐมนตรี เปิด “กองทุนตั้งตัวได้” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสถานศึกษานำร่องการดำเนินโครงการดังกล่าวของรัฐบาล

วันนี้ (21ม.ค.56) เวลา 08.30 น. ณ หน้าอาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิด “กองทุนตั้งตัวได้” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสถานศึกษานำร่องการดำเนินโครงการดังกล่าว พร้อมพบปะและเยี่ยมชมการดำเนินการให้นักศึกษาผู้ยื่นคำขอรับสินเชื่อกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาลที่ร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) และสถาบันการเงินของรัฐ 5 แห่ง  คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยดำเนินการขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการปล่อยกู้ให้นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งมีทักษะและต้องการเป็นเจ้าของกิจการ แต่ขาดทุนทรัพย์ ให้มีเงินทุนสามารถนำไปประกอบอาชีพอิสระ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท รวมทั้งเยี่ยมชมบูธและนิทรรศการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ดังกล่าวที่เข้าร่วมโครงการด้วย

นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนตั้งตัวได้ ว่า หลังจากที่ได้มีการเปิดกองทุนตั้งตัวได้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้การดำเนินการได้มีความคืบหน้า ดังนี้ 1. การดำเนินการสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ ได้มีผู้อำนวยการแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อให้เกิดสำนักงาน 2. การประสานงานกับธนาคารรัฐ ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกช่วยจำ และมีการกำหนดรายละเอียด ในการกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว 3. การดำเนินการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถานศึกษา ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ระดับนำร่องแลระดับจริง นั้น ขณะนี้มี 3 สถาบันการศึกษาที่พร้อมจะเป็นหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจนำร่องแล้ว ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนการสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยผ่านหน่วยบ่มเพาะในสถานศึกษานั้น ปัจจุบันได้นักศึกษา จำนวน 7 โครงการที่มีความพร้อมในการจะเข้าขออนุมัติสินเชื่อกับธนาคารของรัฐ และสำนักงานกองทุน ซึ่งมีนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 3 ราย ซึ่งทำธุรกิจด้านร้านอาหารสมัยใหม่ในห้างการค้าสมัยใหม่ การพิมพ์ในรูปแบบ digital และการทำผักดองในรูปแบบที่ทันสมัย และจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 4 ราย คือ การทำเครือข่ายอินเตอร์กับโรงพยาบาลหรือโรงแรม การทำอาหารกึ่งสำเร็จรูป การทำ application ในโทรศัพท์ และการกำจัดขยะ เป็นต้น

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี และตัวแทนสถาบันการเงินของรัฐได้รับข้อเสนอแผนธุรกิจโครงการ "กองทุนตั้งตัวได้ มรอ." ของผู้ประกอบการที่ทำแผนธุรกิจผ่านและอยู่ระหว่างการอนุมัติเงินทุนจากสถาบันการเงินของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 ราย คือ นางสาวกฤตยา กองบัว เจ้าของกิจการร้านอาหารญี่ปุ่น และนางสาวอทิตยา ชัยมงคลสกุล เจ้าของกิจการร้านป้ายไวนิล ชันนี่ดีไซน์ ทั้งนี้คาดว่าทั้งสองรายจะได้รับการอนุมัติเงินทุนจากสถาบันการเงินของรัฐฯ เพื่อนำไปประกอบกิจการและต่อยอดธุรกิจของตนเองต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถขอรับการสนับสนุนการประกอบธุรกิจจากกองทุนตั้งตัวได้ โดยสมัครได้ที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา 56 แห่งทั่วประเทศ หรือที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2 610-5444

------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลฯ คิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

$
0
0
นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลฯ คิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เชิญชวนคนไทยและชาวเชียงใหม่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพที่ดี  ต้อนรับผู้มาเยือนจากทุกประเทศด้วยความอบอุ่นจริงใจ  พร้อมร่วมชมการแข่งขันคู่ที่ 2 ระหว่างทีมชาติไทย-ทีมชาติฟินแลนด์

 

วันนี้ (23 ม.ค.56) เวลา 18.30 น. ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556 โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมงาน โดยนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คณะกรรมการจัดงานการแข่งขันฟุตบอลฯ สภากรรมการ คณะผู้ตัดสิน นักกีฬาฟุตบอล และประชาชนให้การต้อนรับพร้อมเข้าร่วมชมการแข่งขัน

เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงสนามกีฬาฯ นายกรัฐมนตรีได้เดินไปยังห้องพักนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย  เพื่อพบปะพร้อมกล่าวให้กำลังใจนักกีฬาฟุตบอลว่า ขอให้แข่งขันอย่างเต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ประสบชัยชนะและขอให้สู้ ๆ โดยส่วนตัวนายกรัฐมนตรีเชียร์เต็มที่ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ถ่ายภาพร่วมกับผู้ฝึกสอนและนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยด้วย

ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เข้าสู่อัฒจันทร์พิธีเพื่อเปิดกรวยดอกไม้ ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่วมชมขบวนพาเหรดเฉลิมพระเกียรติที่ประกอบด้วยธงเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา กองทหารเกียรติยศอัญเชิญถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ธงคิงส์คัพ และขบวนธงชาติ 4 ประเทศ (ฟินแลนด์ เกาหลีเหนือ สวีเดน และไทย)

จากนั้น นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ เป็นรายการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กีฬาฟุตบอลเป็นสื่อในการเชื่อมประสานความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อพัฒนาทีมฟุตบอลทีมชาติไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้น  และส่งเสริมให้เด็กเยาวชน รวมถึงประชาชนหันมาสนใจเล่นกีฬามากขึ้น   ที่เกิดประโยชน์ทางตรงคือสุขภาพร่างกายแข็งแรง และทางอ้อมคือเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีน้ำใจนักกีฬา  รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งในปีนี้จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศว่าเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวงดงาม มีประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

พร้อมกันนี้  นายกรัฐมนตรีกล่าวขอให้ประชาชนคนไทยและชาวจังหวัดเชียงใหม่ช่วยกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพที่ดี  ให้การต้อนรับคณะผู้มาเยือนจากทุกประเทศด้วยความอบอุ่นและจริงใจ  โดยหวังให้เป็นช่วงเวลาที่ดีตลอดที่พำนักอยู่ในประเทศไทย จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลคู่ที่ 2 ระหว่างทีมชาติไทย-ทีมชาติฟินแลนด์พร้อมกับผู้เข้าชมการแข่งขันด้วย

ทั้งนี้ การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพในครั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 5 ธันวาคม 2555 การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ”  เป็นรายการแข่งขันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  พระราชทานถ้วยรางวัลหนึ่งเดียวของวงการฟุตบอลเอเชีย โดยเริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 และมีการจัดต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในปี 2526, 2528 และ 2551 โดยในบางปีจะมีการเชิญทีมสโมสรมาร่วมแข่งด้วย  โดยการแข่งขันในปีนี้มีทีมต่างชาติจำนวน 3 ทีมประกอบด้วยสวีเดน ฟินแลนด์ และเกาหลีเหนือ เข้าร่วมแข่งขันกับทีมชาติไทยรวมเป็น 4 ทีม  กำหนดแข่งขันคู่เปิดสนามในวันนี้ระหว่างทีมชาติสวีเดน พบทีมชาติเกาหลีเหนือ เมื่อเวลา 16.00 น. ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสวีเดนชนะทีมชาติเกาหลีเหนือไป 5 ประตูต่อ 2 ส่วนคู่ที่ 2 เป็นการแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยกับทีมชาติฟินแลนด์ เวลา 19.00 น.  สำหรับคู่ชิงชนะเลิศจะแข่งขันในวันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 17.00 น. และคู่ชิงที่ 3 แข่งขันเวลา 15.30 น. ในวันเดียวกัน

------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ สักลอ รายงาน

อภิรมย์ ดิษย์พันธ์ ถ่ายภาพ

 

นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลฯ คิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

$
0
0
นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลฯ คิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เชิญชวนคนไทยและชาวเชียงใหม่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับผู้มาเยือนจากทุกประเทศด้วยความอบอุ่นจริงใจ  พร้อมร่วมชมการแข่งขันคู่ที่ 2 ระหว่างทีมชาติไทย-ทีมชาติฟินแลนด์

วันนี้ (23 ม.ค.56) เวลา 18.30 น. ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556 โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมงาน โดยนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คณะกรรมการจัดงานการแข่งขันฟุตบอลฯ สภากรรมการ คณะผู้ตัดสิน นักกีฬาฟุตบอล และประชาชนให้การต้อนรับพร้อมเข้าร่วมชมการแข่งขัน

เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงสนามกีฬาฯ นายกรัฐมนตรีได้เดินไปยังห้องพักนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย  เพื่อพบปะพร้อมกล่าวให้กำลังใจนักกีฬาฟุตบอลว่า ขอให้แข่งขันอย่างเต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ประสบชัยชนะและขอให้สู้ ๆ โดยส่วนตัวนายกรัฐมนตรีเชียร์เต็มที่ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ถ่ายภาพร่วมกับผู้ฝึกสอนและนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยด้วย

ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เข้าสู่อัฒจันทร์พิธีเพื่อเปิดกรวยดอกไม้ ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่วมชมขบวนพาเหรดเฉลิมพระเกียรติที่ประกอบด้วยธงเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา กองทหารเกียรติยศอัญเชิญถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ธงคิงส์คัพ และขบวนธงชาติ 4 ประเทศ (ฟินแลนด์ เกาหลีเหนือ สวีเดน และไทย)

จากนั้น นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 42 ประจำปี 2556

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ เป็นรายการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กีฬาฟุตบอลเป็นสื่อในการเชื่อมประสานความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อพัฒนาทีมฟุตบอลทีมชาติไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้น  และส่งเสริมให้เด็กเยาวชน รวมถึงประชาชนหันมาสนใจเล่นกีฬามากขึ้น   ที่เกิดประโยชน์ทางตรงคือสุขภาพร่างกายแข็งแรง และทางอ้อมคือเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีน้ำใจนักกีฬา  รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งในปีนี้จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศว่าเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวงดงาม มีประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

พร้อมกันนี้  นายกรัฐมนตรีกล่าวขอให้ประชาชนคนไทยและชาวจังหวัดเชียงใหม่ช่วยกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพที่ดี  ให้การต้อนรับคณะผู้มาเยือนจากทุกประเทศด้วยความอบอุ่นและจริงใจ  โดยหวังให้เป็นช่วงเวลาที่ดีตลอดที่พำนักอยู่ในประเทศไทย จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลคู่ที่ 2 ระหว่างทีมชาติไทย-ทีมชาติฟินแลนด์พร้อมกับผู้เข้าชมการแข่งขันด้วย

ทั้งนี้ การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพในครั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 5 ธันวาคม 2555 การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” เป็นรายการแข่งขันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  พระราชทานถ้วยรางวัลหนึ่งเดียวของวงการฟุตบอลเอเชีย โดยเริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 และมีการจัดต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในปี 2526, 2528 และ 2551 โดยในบางปีจะมีการเชิญทีมสโมสรมาร่วมแข่งด้วย  โดยการแข่งขันในปีนี้มีทีมต่างชาติจำนวน 3 ทีมประกอบด้วยสวีเดน ฟินแลนด์ และเกาหลีเหนือ เข้าร่วมแข่งขันกับทีมชาติไทยรวมเป็น 4 ทีม  กำหนดแข่งขันคู่เปิดสนามในวันนี้ระหว่างทีมชาติสวีเดน พบทีมชาติเกาหลีเหนือ เมื่อเวลา 16.00 น. ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสวีเดนชนะทีมชาติเกาหลีเหนือไป 5 ประตูต่อ 2 ส่วนคู่ที่ 2 เป็นการแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยกับทีมชาติฟินแลนด์ เวลา 19.00 น.  สำหรับคู่ชิงชนะเลิศจะแข่งขันในวันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 17.00 น. และคู่ชิงที่ 3 แข่งขันเวลา 15.30 น. ในวันเดียวกัน

------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ สักลอ รายงาน

อภิรมย์ ดิษย์พันธ์ ถ่ายภาพ

ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทยขอความสนับสนุนรณรงค์ยุติการค้างาช้าง

$
0
0
ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทยขอความสนับสนุนรณรงค์ยุติการค้างาช้าง

ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการรณรงค์ยุติการค้างาช้าง

วันนี้ (24 ม.ค. 2556) เวลา 09.30 น. ณ ห้องโดมทอง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางสาวพันธ์สิริ วินิจจะกูล ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย (WWF – Thailand) และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการรณรงค์ยุติการค้างาช้าง สรุปผลการหารือ ดังนี้

ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย ได้เสนอโครงการรณรงค์การยุติการค้างาช้างในประเทศไทย จากความต้องการงาช้างแกะสลัก และเครื่องประดับงาช้างของผู้บริโภคในเอเชีย ซึ่งทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทยมีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อการลักลอบล่าช้างซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในทวีปแอฟริกา ความต้องการผลิตภัณฑ์จากงาช้างผิดกฏหมายทำให้ช้างสูญพันธุ์ไปจากแอฟริกาได้ และช้างไทยอาจจะเป็นรายต่อไป จึงมีความประสงค์จะขอความสนับสนุนจากทางการไทยในการบังคับใช้กฏหมายสั่งห้ามการค้างาช้างทุกรูปแบบในประเทศไทย ซึ่งในโอกาสนี้ทางกองทุนสัตว์ป่าโลกกำลังดำเนินการจัดการประชุมเพื่อหารือถึงวิกฤตการลักลอบล่าช้าง และการค้าสัตว์ป่าทั่วโลก โดยจะเชิญผู้แทนรัฐบาลจาก 176 ประเทศ รวมทั้งไทยร่วมประชุมในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-14 มีนาคม 2556 นี้

ในโอกาสนี้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีกล่าวว่านายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงการยุติและป้องกันการค้าสัตว์ป่า และได้แสดงความห่วงใยต่อปัญหาที่ยังคงเกิดขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของทางกองทุนสัตว์ป่าเพื่อร่วมปกป้องและยุติการค้าสัตว์ป่าทุกชนิดในประเทศไทยอย่างจริงจัง

*********************************

วิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษก


ผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

$
0
0

ผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยนายปลอดประสพฯ รองนายกรัฐมนตรี เผยโครงการที่ได้รับอนุมัติจะมีการประเมินติดตามอย่างละเอียดต่อเนื่องตลอดเวลา รวมทั้งให้เจ้าของโครงการหรือเจ้าของกิจการเข้าชี้แจงด้วยตนเองทุกครั้งก่อนได้รับอนุมัติและต้องมีหน้าที่ในการฟื้นฟูและจ่ายทดแทนบนสมมุติฐานแผ่นนี้เป็นของประชาชนทุกคน

วันนี้ (24ม.ค.56) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 /2556 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ภายหลังเสร็จสินการประชุม นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยเฉพาะด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่า ต่อไปนี้การที่จะมาขอสัมปทานในเรื่องใดก็ตาม ทั้งในกรณีที่ได้รับประทานบัตรไปแล้วและจะมีการขอใหม่นั้น จะมายื่นคำขอประทานบัตรล่วงหน้าหลายปีไม่ได้ก่อนที่ประทานบัตรจะหมดอายุ ดังนั้น ที่ประชุมฯ จึงได้กำหนดให้มีการปรับปรุงในเรื่องระยะเวลาที่จะยื่นคำขอประทานบัตรก่อนที่จะหมดอายุว่า ควรจะเป็นเมื่อไรจึงให้เริ่มขอได้  และเมื่อขออนุมัติจะได้รับคำตอบเมื่อใด เป็นต้น

ขณะเดียวกันในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากอนุมัติไปตามปกติแล้ว ผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องมีหน้าที่ในการฟื้นฟูและจ่ายทดแทนบนสมมุติฐานว่าแผ่นนี้เป็นของประชาชนทุกคน ดังนั้นจะต้องมีการดูแลและแสดงความขอบคุณต่อเจ้าของประเทศ เช่น  โครงการเหมืองแร่ ต่อไปนี้ต้องปลูกป่าทดแทน 25 เท่า ของพื้นที่ที่ใช้และในระหว่างที่ดำเนินการหากพบว่าทำให้สิ่งแวดล้อมและประชาชนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จะมีการยกเลิกสัมปทานนั้นทันที

ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว ที่ประชุมฯ ได้มีข้อกำหนดให้มีการประเมินติดตามอย่างละเอียดต่อเนื่องตลอดเวลา โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมทั้งเจ้าของโครงการ จะต้องมีหน่วยงานในการประเมินติดตามตลอดเวลา โดยรายงานผ่านว็บไชต์ซึ่งจะได้มีการจัดทำขึ้นในการดำเนินการดังกล่าว เพื่อรายงานให้คณะกรรมการฯ รับทราบอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในการอนุมัติทุกโครงการ เจ้าของโครงการ/กิจการจะต้องมาชี้แจงด้วยตนเองทุกครั้ง

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งว่า จะมีการนำเรื่องภัยแล้งเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย  (กบอ.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันศุกร์นี้

ส่วนสถานการณ์การป้องกันไฟป่าและหมอกควันในขณะนี้นั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สถานการณ์ในเรื่องหมอกควันดีขึ้นตามลำดับภายหลังที่ได้มีการดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556 เพิ่มเติมขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการใหม่ที่ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ 1) ที่ไม่ให้มีการเผา 2)ใช้แนวทาง Area Approach มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ (Forward Command) 3) ใช้ระบบ Single Command โดยกลไกของกระทรวงมหาดไทย ตาม พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งให้มีการรายงานสถานการณ์ผ่านเว็บไชต์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งนี้ยังได้มีการกำหนดพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน เป็น 3 ประเภท คือ 1. พื้นที่เกษตร 2. พื้นที่เขตเมือง และ3.พื้นที่ป่า และในการดำเนินการในครั้งนี้จะมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จประกอบด้วย  จำนวนไฟ (hot spots) ที่ได้จากภายถ่ายดาวเทียม คุณภาพอากาศหรือปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ (pm10) จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา จำนวนโรงเรียนที่ต้องปิดทำการเนื่องจากได้รับผลกระทบ อุบัติเหตุที่เกิดจากหมอกควัน และเที่ยวบินที่ต้องหยุดหรือเลื่อน  พร้อมกันนี้ จะมีการใช้งบประมาณพิเศษ โดยผู้ว่าฯ รับผิดชอบ เพื่อจ้างประชาชนในพื้นที่เข้ามาช่วยดูแลป่าและดับไฟ โดยจะจ้างเป็นรายวันตามที่ได้กำหนดไว้เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับกรณีที่มีประชาชนและเกษตรกร ได้มีการเผาฟางข้าวนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยจะมีการนำเครื่องจักรไปไถกลบให้ทั้งหมดทันที แต่ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่บุกรุกรัฐจะเข้าไปดำเนินการเองต่อไป

---------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิไลวรรณ/รายงาน

นายกรัฐมนตรีเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสนามไชย – ท่าพระ

$
0
0
นายกรัฐมนตรีเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสนามไชย – ท่าพระ

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมความก้าวหน้า เทคโนโลยีหัวเจาะอุโมงค์และขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายระยะทาง 2.6 กม.

 

วันนี้ (24 มกราคม 2556) เวลา 15.00 น. ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้าง CUT & COVER ท่าพระ กรุงเทพมหานคร นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ “เจ้าพระยา” โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย – ท่าพระ สัญญาที่ 2 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในการก่อสร้างโครงการฯ และเทคโนโลยีหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้า

 

ทั้งนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย – ท่าพระ การขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินที่สำนักงานสนามท่าพระนั้น รฟม. ร่วมกับ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้าง โครงการดังกล่าว ได้นำหัวขุดเจาะอุโมงค์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.43 เมตร อุปกรณ์สนับสนุน ประกอบด้วย อุปกรณ์ระบบท่อสำหรับลำเลียงดินออก อุปกรณ์สำหรับควบคุมทิศทาง อุปกรณ์ไฮโดรลิคส์ลำเลียงวัสดุก่อสร้างเข้า ออกระหว่างการขุดเจาะ อุปกรณ์ระบายอากาศ อุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในอุโมงค์ และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การดำเนินการขุดเจาะที่ระดับความลึกประมาณ 20 – 30 เมตร โดยเริ่มจากจุดเชื่อมต่อสัญญาที่ 4 บริเวณสถานีท่าพระไปยังสถานีอิสระภาพ และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และไปสิ้นสุดที่สถานีสนามไชย ระยะทางรวมประมาณ 2.6 กิโลเมตร

 

จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ “เจ้าพระยา” โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย – ท่าพระ อย่างเป็นทางการ พร้อมเยี่ยมชมบริเวณพื้นที่การขุดเจาะอุโมงค์ดังกล่าวด้วย

 

...............................................................

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วีรพงษ์ รายงาน

 

นายกรัฐมนตรีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปสืบสวนหาสาเหตุนำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาการลอบทำร้ายครู 3 จังหวัดชายแดนใต้

$
0
0
นายกรัฐมนตรีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปสืบสวนหาสาเหตุนำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาการลอบทำร้ายครู 3 จังหวัดชายแดนใต้

นรม.ระบุมีหลายกรณีที่เราต้องติดตามสาเหตุ พร้อมศึกษารายละเอียดการลอบทำร้ายครู  เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาข้อเท็จจริงต่างๆ แก้ไขจุดบกพร่องต่อไป

วันนี้ (24 ม.ค.56) เวลา 10.30 น. ณ บริเวณกองการบิน กรมการขนส่งทหารบก ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภายหลังการเดินทางกลับจากการปฏิบัติราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีโจรใต้บุกยิงครูเสียชีวิตภายในโรงอาหารโรงเรียนบ้านตันหยง จังหวัดนราธิวาสว่า ได้ให้ฝ่ายความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปสืบสวนรายละเอียดอยู่ ซึ่งมีหลายกรณีที่เราต้องติดตามสาเหตุ ซึ่งประเด็นนี้ต้องติดตามศึกษารายละเอียดดูว่าเกิดอะไรขึ้น  โดยได้สั่งการให้มีการสืบขั้นตอนทั้งหมด เพื่อที่จะวิเคราะห์ปัญหาข้อเท็จจริงต่างๆ จะได้มาแก้ไขว่ามีช่องว่างหรือจุดบกพร่องอะไรที่จะได้ช่วยกันแก้ไข ต้องรอผลจากการติดตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ก่อน

-----------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นราวุธ รายงาน

อภิรมย์ ถ่ายภาพ

นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินประจำทำเนียบรัฐบาล

$
0
0
นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินประจำทำเนียบรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (ชั่วคราว) ประจำทำเนียบรัฐบาล ที่เปิดให้บริการเป็นวันแรก  กำชับให้ใช้ห้องบริการทางการแพทย์ฯ สำหรับช่วยเหลือชีวิตกรณีฉุกเฉิน

วันนี้ (25 ม.ค.56) เวลา 10.20 น. ที่ห้องรับรอง 2 ชั้น 1 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล    นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (ชั่วคราว) ประจำทำเนียบรัฐบาล ที่ดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับการให้บริการกรณีมีผู้ป่วยฉุกเฉินในทำเนียบรัฐบาล โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมการตรวจเยี่ยม ซึ่งมีนายประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทีมแพทย์พยาบาลฉุกเฉิน ให้การต้อนรับ

นายกรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมชมภายในห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (ชั่วคราว) ที่ใช้พื้นที่ภายในห้องรับรอง 2 ตึกบัญชาการ 1 โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วยความสนใจ  พร้อมกับกำชับให้ใช้ห้องบริการทางการแพทย์ฯ สำหรับช่วยเหลือชีวิตกรณีฉุกเฉิน  ส่วนการพิจารณาจัดบริการทางแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยงานอื่นจะต้องพิจารณาในแต่ละพื้นที่  รวมทั้งพิจารณาในเรื่องบุคลากรด้วย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้การรักษาพยาบาลโดยสรุปว่าห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเบื้องต้นได้ ซึ่งทีมแพทย์ผู้รักษาจะวินิจฉัยส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลต่อไป นอกจากนี้มีแนวคิดที่จะให้มีหน่วยจักรยานยนต์กู้ชีพเพื่อให้การช่วยเหลือชีวิตกรณีฉุกเฉินในพื้นที่ที่การจราจรติดขัดด้วย

ทั้งนี้ ภายในห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (ชั่วคราว) ประจำทำเนียบรัฐบาล จะมีทีมแพทย์ฉุกเฉิน และมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่สำคัญอาทิ เตียงผู้ป่วย 1 เตียง ถังออกซิเจน ตู้ยารักษาโรคเบื้องต้น อุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ใช้ในการกู้ชีพขั้นสูงที่มีคุณสมบัติในการใช้ตรวจสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสอบออกซิเจนในเลือด ใช้กระตุ้นหัวใจ และใช้วัดความดันโลหิต โดยที่ห้องบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (ชั่วคราว) ประจำทำเนียบรัฐบาล จะมีทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน จากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ สลับหมุนเวียนมาประจำทุกวัน ดังนี้ วันจันทร์ สถาบันโรคทรวงอก วันอังคาร โรงพยาบาลราชวิถี วันพุธ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี วันพฤหัสบดี โรงพยาบาลเลิดสิน และวันศุกร์ สถาบันประสาทวิทยา โดยข้าราชการ เจ้าหน้าที่รวมทั้งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ที่มีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถขอรับบริการได้ในวันและเวลาราชการ 08.30 น. – 16.30 น.

ก่อนหน้านี้ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.56 เป็นต้นไปจะมีทีมแพทย์ฉุกเฉินจากกรมการแพทย์ พร้อมด้วยรถพยาบาล 1 คัน สลับหมุนเวียนมาประจำทุกวันอยู่ที่ห้องพยาบาลประจำทำเนียบรัฐบาล  ขณะเดียวกันยังได้มีการประสานกับโรงพยาบาลวชิร  พยาบาล โรงพยาบาลมิชชั่น และโรงพยาบาลศิริราช ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นอีกด้วยสำหรับห้องพยาบาลถาวรประจำทำเนียบรัฐบาล ตั้งอยู่ที่บริเวณทางเข้า-ออก ตึกบัญชาการ 1 ติดกับโรงอาหาร จะใช้เวลาจัดเตรียมสถานที่ประมาณ 3 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จ ระหว่างนี้จึงใช้ห้องพยาบาลชั่วคราวไปก่อน โดยข้าราชการ เจ้าหน้าที่รวมทั้งสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถขอรับบริการได้

 

-----------------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิมลมาส รัตนมณี รายงาน

ธวัชชัย คุ้มคลองโยง ถ่ายภาพ

 

รมต.นร.ศันสนีย์ฯ เปิดโครงการเสริมสร้างพลังสตรีพิทักษ์สิทธิและความเสมอภาคที่จังหวัดเพชรบูรณ์

$
0
0

รมต. นร. ย้ำรัฐบาลพร้อมเปิดโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

 

วันนี้ (25 ม.ค. 56) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมศรีเทพ อาคารหอประชุม ศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการเสริมสร้างพลังสตรีพิทักษ์สิทธิและความเสมอภาค” พร้อมมอบนโยบาย “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”แก่ตัวแทนคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบลและจังหวัดเพชรบูรณ์ ประมาณ 1,500 คน โดยมี นายจิรายุทธ  วัจนะรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ประธานชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย ตลอดจนข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ประธานชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย กล่าวรายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งกองทุน พัฒนาบทบาทสตรี เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสตรี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว การขาดโอกาสทางสังคม ปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติซึ่งโอกาสที่สตรีจะได้แสดงศักยภาพในการทำงานนั้นมีน้อย จึงต้องเปิดโอกาสและพัฒนาศักยภาพสตรีให้มากขึ้น

สำหรับการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการดำเนินงานในเบื้องต้นไปแล้ว อาทิ  1) การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบลและระดับจังหวัด  2) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  3) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการโอนเงินจัดสรร ครั้งที่ 1 จำนวน 20 ล้านบาท มีการอนุมัติเงินกู้ และเงินอุดหนุนแล้ว จำนวน 89 โครงการ รวมงบประมาณ 14,177,733 บาท จากนโยบายของรัฐบาล ได้ทำให้สตรีมีการพัฒนาศักยภาพนำไปสู่การเป็นเครือข่ายองค์กรสตรี ที่มีการเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูสตรี ที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี

โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาของสตรี และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย โดยได้ประกาศนโยบายในการจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม ที่สนับสนุนบทบาทของสตรีไทยในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเสมอภาค ด้วยการปกป้องสิทธิของสตรี ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว และดึงศักยภาพของสตรีให้มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า  วิสัยทัศน์ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีคือ “สร้างสรรค์พลังสตรี ให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้าง   สวัสดิภาพ สวัสดิการ ให้แก่สตรี โดยผ่านกลุ่มสตรี เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการเงินภาคประชาชนในแนวทางเดียวกับ Garmin Bank (2) เพื่อเป็นแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพสตรี และเครือข่ายสตรี (3) เพื่อเป็นแหล่งทุนสำหรับส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาบทบาทและแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่างๆ และ (4) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนโครงการที่เป็นการแก้ไขปัญหา และพัฒนาสตรี

อย่างไรก็ตาม จากวิสัยทัศน์ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่กำหนดไว้ว่า “สร้างสรรค์พลังสตรี ให้เป็นพลังสำคัญ  ในการพัฒนาประเทศ” จะเห็นได้ว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพสตรีในทุกมิติ เพื่อให้ สตรีมีศักดิ์ศรี มีสิทธิ และโอกาสในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะส่งผลให้สตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนำไปสู่สังคมที่มีความเสมอภาค

พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ำว่า รัฐบาลได้เห็นความสำคัญและความสามารถของสตรีว่าจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ จึงได้ตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สตรีทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน จึงได้กำหนดให้มีคณะกรรมกองทุนพัฒนาสตรีในระดับตำบลและระดับจังหวัด ที่มาจากภาคประชาชน โดยภาคราชการทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยงที่คอยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับคณะกรรมการฯ เท่านั้น

จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เดินเยี่ยมชมสินค้า OTOP และนิทรรศการเกี่ยวกับบทบาทสตรีของจังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนเดินทางพร้อมคณะ ไปยังโรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปจากสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 เขต 2 เขต 3

------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

ชมพูนุท / รายงาน

 

 

Viewing all 1192 articles
Browse latest View live




Latest Images