Quantcast
Channel: ศูนย์ข่าวทำเนียบรัฐบาล
Viewing all 1192 articles
Browse latest View live

นายกรัฐมนตรีประชุมติดตามผลการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตคุณภาพข้าวนาสวน และข้าวนาไร่

$
0
0
นายกรัฐมนตรีประชุมติดตามผลการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตคุณภาพข้าวนาสวน และข้าวนาไร่

นายกรัฐมนตรีประชุมติดตามผลการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตคุณภาพข้าวนาสวน และข้าวนาไร่ให้สอดคล้องกับลักษณะความเหมาะสมของดินและความต้องการของตลาดตามแนวคิดเกษตรโซนนิ่ง

วันนี้ (3เม.ย.57) เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงสุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานในการประชุมติดตามผลการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตคุณภาพข้าวนาสวน และข้าวนาไร่ ให้สอดคล้องกับลักษณะความเหมาะสมของดินและความต้องการของตลาดตามแนวคิดเกษตรโซนนิ่ง โดยมี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ว่าที่ร้อยตรี สุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้มีการบริหารจัดการ ปรับปรุงพัฒนาและดูแลสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้มีความสะอาดสวยงามอยู่เสมอ รวมทั้งสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้มีการพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอีกแห่งหนึ่ง และฝากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีได้มีการพัฒนาและทำให้เป็น Cluster ก็จะช่วยส่งเสริมในส่วนนี้เพิ่มขึ้น สำหรับวันนี้ที่ได้เดินทางมาประชุมที่จังหวัดสุพรรณบุรีก็เพื่อที่จะได้มาติดตามในเรื่องของโซนนิ่ง การพัฒนาพันธุ์ข้าว รวมถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของโซนนิ่งนั้นจะสามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ทั้งสภาพของดินและน้ำ ขณะเดียวกันฝากดูแลการบริหารจัดการน้ำให้สัมพันธ์กับฤดูกาลปลูกข้าว และขอให้มีการศึกษาพัฒนาวิจัยพันธุ์ข้าวให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพและมีราคาเพิ่มขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อีกทั้งได้ขอให้ดูแลในเรื่องของปัญหาน้ำเค็มที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้รับฟังรายงานสรุปผลการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตคุณภาพข้าวนาสวน และข้าวนาไร่ตามแนวคิดเกษตรโซนนิ่ง จากนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาข้าวตามนิเวศน์การปลูกภายใต้นโยบายโซนนิ่ง โดยการแบ่งกลุ่มพันธุ์ข้าวตามนิเวศน์การปลูก ประกอบด้วย 1) กลุ่มพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ คือ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีน้ำลึก 1-5 เมตร เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปราจีนบุรี 2) กลุ่มพันธุ์ข้าวน้ำลึก คือ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีน้ำลึก 50-100 เซนติเมตร เช่น จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา และปราจีนบุรี 3) กลุ่มพันธุ์ข้าวนาสวน คือ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีน้ำลึก ไม่เกิน 50 เมตร เช่น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าวนาสวนน้ำฝน (พันธุ์ กข6 และขาวดอกมะลิ ) และข้าวนาสวนชลประทาน (พันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท1 กข41 กข43 กข47 และกข49) 4) กลุ่มพันธุ์ข้าวไร่ คือ ข้าวที่ปลูกในที่ดอน ไม่มีน้ำขัง เช่น จังหวัดลำปาง แพร่ และน่าน และ5) กลุ่มพันธุ์ข้าวนาที่สูง คือ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำขังบนที่สูง ตั้งแต่ 700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เช่น จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เป็นต้น

สำหรับแนวทางการพัฒนา การผลิตข้าวตามนิเวศน์การปลูกต่าง ๆ ดังกล่าว มีแนวทางการดำเนินการทั้งการเพิ่มผลผลิต เช่น ใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกจากหว่านเป็น Intensive Farming ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขยายและปรับปรุงระบบชลประทาน ใส่ปุ๋ยทั้งชนิดอัตราและระยะที่เหมาะสม มีการป้องกันกำจัดโรค แมลง วัชพืช และข้าววัชพืชอย่างถูกวิธี วิจัยปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสม ฯลฯ การลดต้นทุนการผลิต เช่น ให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยวข้าวระยะที่เหมาะสม ควบคุมวัชพืช ลดการสูญเสียในช่วงเก็บเกี่ยว ฯลฯ การยกระดับคุณภาพข้าว เช่น ข้าวอินทรีย์ ตลอดจนเพิ่มมูลค่า เช่น ส่งเสริมการตลาดสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพระดับ Premium ส่งเสริมใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมนำไปทำข้าวนึ่ง เน้นการปลูกข้าวโดยใช้พันธุ์ข้าวตามที่ตลาดต้องการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ (ผลิตภัณฑ์เส้นขนมจีน เส้นหมี่) ฯลฯ

รวมทั้งรับฟังรายงานภาพรวมปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางในการพัฒนาจังหวัด จากผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง จากกรมชลประทาน ซึ่งกรมชลประทานได้แสดงความเชื่อมั่นว่ายังสามารถบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ รวมถึงการดูแลเรื่องความเค็มของน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน

ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมผลการดำเนินงานของศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงสุพรรณบุรี ที่สำคัญ อาทิ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อพืชเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชน เป็นต้น

 

------------------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก


นายกรัฐมนตรีหวังศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาบนมาตรฐานเดียวกันกับที่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ผ่านมา

$
0
0
นายกรัฐมนตรีหวังศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาบนมาตรฐานเดียวกันกับที่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ผ่านมา

วันนี้ (3เม.ย.57) เวลา 13.00 น. ณ จังหวัดสุพรรณบุรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวินิจฉัยสถานภาพในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้แก่นายถวิล เปลี่ยนศรี เพราะเป็นการโยกย้ายโดยมิชอบว่า หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาบนมาตรฐานเดียวกันกับที่ผ่านมา ซึ่งทุกอย่างก็ว่าไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และยืนยันการโยกย้ายนายถวิลฯ เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย

ส่วนมีความเป็นห่วงหรือไม่ที่ขณะมีหลายคดีที่ต้องเข้าชี้แจงต่อองค์กรอิสระนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า ทุกอย่างที่ได้ทำก็เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และหวังว่าจะพิจารณาตนบนมาตรฐานเดียวกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ เพราะถ้าพิจารณาบนมาตรฐานเดียวกันเชื่อว่าทุกอย่างจะมีคำตอบและการยอมรับก็จะมี

ส่วนขณะนี้มองอย่างไรที่มีความพยายามดำเนินการเร่งรัดคดีต่างๆ จากองค์กรอิสระนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนเป็นผู้ถูกกล่าวหาคงไม่สามารถอยู่ในวิสัยที่จะพูดเช่นนั้นได้ แต่ยอมรับว่าหนักใจในเรื่องของระยะเวลาและพยานที่ถูกตัดจากที่ขอไป 11 ปาก เหลือ 3 ปาก อย่างไรก็ตามเราก็จะทำบนกลไกที่เหลืออยู่อย่างเต็มที่ และยืนยันว่าในเรื่องข้อมูลต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวอ้าง

ส่วนกรณีที่มีการมองว่ามีขบวนการพยายามขีดเส้นไม่ให้เดินได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอให้คนดูเป็นคนพิจารณาและตัดสิน ตนเป็นเพียงแค่หนึ่งในผู้ที่รักษากติกาและประชาธิปไตย ดังนั้นประชาชนจะเป็นผู้คอยดูอยู่ว่าแต่ละคนและแต่ละบทบาทนั้นได้ทำบทบาทของตัวเองอย่างเต็มที่หรือไม่ และขอให้ทุกคนน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติว่าทุกคนต้องรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการยอมรับและเกิดความสงบ ซึ่งความสงบ สันติ และสันติภาพต่างๆ นั้นจะเกิดขึ้นจากที่เรากลับไปหาพื้นฐานว่า ถ้าเราดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความยุติธรรม การยอมรับ ความชอบธรรมก็เกิดขึ้น ความสงบของบ้านเมืองก็เกิด

------------------------------

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 เมษายน 2557

$
0
0
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 เมษายน 2557

วันนี้ (8 เมษายน 2557) เมื่อเวลา 11.00 น. ณ ห้องห้วยจรเข้ โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ครม.รดน้ำอวยพรนายกรัฐมนตรีเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

$
0
0
ครม.รดน้ำอวยพรนายกรัฐมนตรีเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

ครม.รดน้ำอวยพรนายกรัฐมนตรีเนื่องในเทศกาลสงกรานต์  พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีกำชับกระทรวงกลาโหมร่วมกับ กอ.รมน. แก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดยะลา  รวมทั้งมอบกระทรวงมหาดไทยให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงโดยเร่งด่วน

วันนี้(8เม.ย.57) เวลา 13.15 น. ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานฯ ร้อยโทหญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยต่อกรณีเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นที่จังหวัดยะลา โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับกระทรวงกลาโหม พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)  เร่งหาแนวทางดูแลแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนแลนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวที่จังหวัดยะลาในช่วงเทศกาลสงกรานต์   พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายกระทรวงมหาดไทยดูแลเยียวประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายคณะรัฐมนตรีเนื่องในเทศกาลสงกรานต์  โดยขอให้ทุกคนทำให้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้เป็นเทศกาลปีใหม่ที่ปลอดภัยและเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคนไทย พร้อมกำชับหน่วยงานหลักทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูแลชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อลดความสูญเสียและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น  รวมทั้งดูแลให้ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนด้วย

อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ได้กำชับ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมกันบูรณาการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือโดยเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาหมอกควันที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ

ทั้งนี้ในโอกาสเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นตัวแทนคณะรัฐมนตรี กล่าวอวยพรนายกรัฐมนตรี และนำคณะรัฐมนตรีรดน้ำขอพรนายกรัฐมนตรีเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ได้อวยพรให้เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแสดงความหวังว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยนี้จะเป็นปีแห่งการนำพาประเทศชาติรอดพ้นวิกฤตและทำให้ประชาชนคนไทยได้มองเห็นแสงสว่างหนทางในการแก้ปัญหาของประเทศได้ อีกทั้งความคิดใดๆ ที่ไม่ถูกต้องก็ขอให้ลบล้างและแปรเปลี่ยนไปเป็นความคิดที่นำพาประเทศชาติไปสู่หนทางของความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  รวมทั้งขอให้คนไทยและข้าราชการทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญและมีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดจนพรใดที่ทุกคนได้มอบให้นายกรัฐมนตรีก็ขอให้กลับคืนสู่ผู้ให้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

-----------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีหวังฝ่ายอำนวยความยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ในอดีต

$
0
0
นายกรัฐมนตรีหวังฝ่ายอำนวยความยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ในอดีต

นายกรัฐมนตรีหวังฝ่ายอำนวยความยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ในอดีต

วันนี้ (8เม.ย.57) เวลา 13.00 น. โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวต่อ ป.ป.ช.ว่าได้มอบหมายให้ทนายความยื่นเรื่องคัดค้านต่อ ป.ป.ช. 3 ประเด็น คือ ขอคัดค้านและให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. และคัดค้านกรณีการตัดพยาน จาก 11 ปาก เหลือ 3 ปาก ครั้งนี้จึงขอให้มีการสืบพยานอีก 4 ปาก ซึ่งพยานดังกล่าวนี้ล้วนเป็นผู้ที่อยู่ในระดับปฏิบัติการที่สามารถจะให้ข้อมูลในส่วนนี้ได้ ประกอบด้วย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร. และนายพิชัย ชุณหวชิร รวมทั้งได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการตรวจสอบของ ป.ป.ช.ที่ได้กล่าวหาตนเอง ทั้งนี้หวังว่า ป.ป.ช. จะให้ความเป็นธรรมในการสืบพยานเพิ่มเติมเพราะตนเองดูระดับนโยบาย แต่การกล่าวหาลงไปถึงระดับปฏิบัติการ จึงต้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหรือผู้ที่รู้ในรายละเอียดนั้นได้มีโอกาสได้ชี้แจ้งข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญหลัก และหวังว่าคณะกรรมการป.ป.ช.จะรับพิจารณาในเรื่องที่ร้องขอไป

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาสถานภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีว่า เหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงรับคำวินิจฉัยเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ไว้พิจารณา เนื่องจากศาลปกครองได้มีคำวินิจฉัยเป็นที่สิ้นสุดแล้ว และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติคืนตำแหน่งให้นายถวิลฯ ตามที่ศาลปกครองได้วินิจฉัยแล้วซึ่งตรงนี้ถือเป็นกรณีแรกที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารับวินิจฉัยกรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งคงต้องดูต่อไปว่าการตัดสินจะเป็นอย่างไร  ซึ่งจะมีผลถึงบรรทัดฐานของกรณีอื่นๆ อีก ส่วนที่มีการร้องให้ตนเองสิ้นสภาพนายกรัฐมนตรีนั้น เรียนว่าเนื่องจากได้มีการยุบสภาฯแล้วถือว่าเป็นการสิ้นสภาพแล้ว มีหน้าที่เพียงการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรอการเลือกตั้ง จึงขอตั้งข้อสังเกตเทียบเคียงกับกรณีผู้ดำรงทางการเมืองอื่นๆ เมื่อมีการยุบสภาฯแล้วศาลจะไม่รับวินิจฉัย ซึ่งคงต้องให้ทางฝ่ายทนายหรือฝ่ายกฎหมายศึกษาพิจารณากรณีนี้  อย่างไรก็ตามหวังว่าฝ่ายที่อำนวยความยุติธรรมทุกฝ่ายนั้นจะให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ในอดีตที่เคยได้รับ

ส่วนกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ปราศรัยบนเวทีว่าหากนายกฯ สิ้นสภาพ จะประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และเสนอนายรัฐมนตรีคนกลาง ตั้งครม.และสภาประชาชนนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้ารัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพฯ อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย คงจะไม่มีคำถามนี้ขึ้น  แต่ภายใต้กรอบของกฎหมายนั้น ตามหลักของผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจะทำหน้าที่ทูลเกล้าฯ ในเรื่องของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเราต้องยึดกฎหมายเพราะถ้าบ้านเมืองไม่มีกฎหมายแล้วจะตอบนานาประเทศอย่างไรว่าเราจะใช้กฎหมายอะไรที่จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคน และหากไม่มีการกำหนดหรือยึดหลักกติกาใด อย่างนี้ใครก็สามารถที่จะตั้งคณะรัฐมนตรีหรือสภานิติบัญญัติในการที่จะบริหารประเทศได้ เพราะเรื่องนี้ต่างชาติถือเป็นสิ่งสำคัญจึงอยากให้ประชาชนช่วยกันหาทางออกด้วยการพูดคุยกันอย่างสันติ ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวและเป็นพื้นฐานให้นานาประเทศยอมรับได้

--------------------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนางานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด

$
0
0
นายกรัฐมนตรีย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนางานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด

วันนี้ (9เม.ย.57) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 องค์การพิพิธพันฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมติดตามทิศทางการวิจัยของประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (6 ส ,1 ว) เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนในการที่จะพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งในช่วงบ่ายได้มีการประชุมหารือติดตามความคืบหน้างานเร่งด่วนเกี่ยวกับการดำเนินงานบูรณาการงานวิจัยในภาคการเกษตร (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพด) ตลอดจนการนำการวิจัยและพัฒนา (R&D) มาประยุกต์กับสินค้าเกษตร โดยมี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุมด้วย

นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้กล่าวรายงานและแนะนำ อพวช. ว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เทคโนธานี ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ โดยเมื่อปี 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขึ้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการและรับผิดชอบงานปี 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาทปี 2535 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้าง ศึกษารูปแบบการบริหารจัดทำแผนแม่บท โดยปี 2543 ได้เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชนบท เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดย อพวช. มีแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิ แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) แหล่งสาระบันเทิง (Edutainment) แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (Career Development) และแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (Edu-tourism Attraction) เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ที่ อพวช. ประมาณปีละ 2 ล้านคน นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์และศูนย์ต่าง ๆ ที่จะจัดสร้างขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวรแล้ว อพวช. ยังจะมีพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่และพิพิธภัณฑ์ชั่วคราวอีกด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้มาร่วมกันประชุมหารือติดตามทิศทางการวิจัยของประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยถือว่ามีความสำคัญที่จะต้องร่วมกันพัฒนาและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยขณะนี้มีงานวิจัยต่างๆ อยู่จำนวนมาก รวมทั้งมีนักวิจัยและวิทยาศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ แต่ยังไม่สามารถนำงานวิจัยที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งนักวิจัยและสถาบันวิจัยทุกแห่งต้องต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญจึงได้เชิญผู้มีองค์ความรู้มาร่วมกันหาแนวทางในการที่จะพัฒนา โดยขณะนี้มีสถาบันวิจัยของรัฐ 7 หน่วยงาน ( 6ส. ,1ว.) ซึ่งก่อนที่หน่วยงานรัฐจะต่อยอดงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชนนั้น คงต้องมาหารือร่วมกันในการติดตามทิศทางการวิจัยของประเทศไทยก่อน โดยเฉพาะประเด็นของสถาบันวิจัยของรัฐ 7หน่วยงาน ( 6ส. 1ว.) ว่าจะเดินหน้าประสานงานต่อยอดงานวิจัยกับ 7 หน่วยงานดังกล่าวอย่างไร เพื่อนำงานวิจัยที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หน่วยงานวิจัยถือหน่วยงานเป็นต้นน้ำสำคัญในการที่จะคิดและทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ศสช.) เพื่อพัฒนาวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่11) ตลอดจนทิศทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับแผนของกระทรวงศึกษาที่จะพัฒนาเยาวชนของประเทศ และแผนของเอกชน ทั้งนี้นโยบายของภาครัฐที่จะดำเนินการต่อคือการตั้งเป้าหมายที่อยากจะเห็นงานวิจัย จำนวนเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณและการพัฒนาร่วมกับภาครัฐและเอกชนมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการหารือในส่วนต้นน้ำแล้วต้องหารือร่วมกันต่อในส่วนกลางน้ำ โดยกระทรวงจะต้องนำงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติหรือปลายน้ำ คือ ผู้ใช้ ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและผู้ปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐต่อไป

สำหรับการความคืบหน้าการติดตามทิศทางการวิจัยของประเทศไทยนั้น ที่ประชุมได้มีการหารือและมีมติสรุปได้ดังนี้

ที่ประชุมรับทราบภาพรวมทิศทางการวิจัยของประเทศไทย โดยสถานภาพการลงทุนด้านการวิจัย และจำนวนบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนนักวิจัย ยังอยู่ในระดับต่ำแม้จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่สัดส่วนการลงทุนวิจัยภาคเอกชนสูงกว่าภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดี ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ยังเป็นจุดอ่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

รวมทั้ง ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการข้อเสนอแนวทางการพัฒนางานวิจัยของ สศช. ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ 1) โจทย์วิจัยของประเทศต้องชัดเจน 2) ปรับแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) บทบาทของ 6ส. 1ว. (เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ – คอบช.) โดยแยกบทบาทระหว่างการเป็นหน่วยงานที่ให้นโยบาย หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย และหน่วยงานวิจัยให้ชัดเจน 4) ปรับปรุงระบบสนับสนุนและสิ่งจูงใจด้าน วทน. และวิจัย เพื่อส่งเสริมการลงทุนวิจัยของภาคเอกชน และ 5) เพิ่มระบบการมีส่วนร่วมและการติดตามประเมินผล โดย สวทน.วช. และ สงป. เป็นแกนหลักดำเนินการติดตามประเมินผล และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางการเพิ่มงบประมาณวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนฯ 11 และยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณต่อไป

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมฯ มอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ 6ส. 1ว. และสำนักงบประมาณ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการงานวิจัยให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยให้มีรายละเอียดแผนการดำเนินงาน งบประมาณ ตัวชี้วัดที่มี และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกันควรให้ความสำคัญในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความต้องการของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค การลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย และการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้วย รวมทั้งมอบหมายให้ สศช. ไปดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการระดับนโยบายด้านการวิจัยของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยให้ปรับปรุงจากคณะกรรมการบูรณาการด้านยุทธศาสตร์ของการวิจัย

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบทิศทางการนำ R&D มาประยุกต์กับสินค้าเกษตร ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบจากวัตถุดิบในประเทศที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและต่อยอดผลิตภัณฑ์ควบคู่กันไปตลอดห่วงโซ่ของการสร้างมูลค่า โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลัก ๆ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศและก่อให้เกิดการจ้างงานสูง เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และปาล์ม โดยมอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับข้อเสนอของนายอรพงศ์ เทียนเงิน รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ไปพิจารณาในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการงานวิจัยที่จะจัดขึ้น และให้นำสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นโจทย์ในการศึกษาวิจัยเชิงอุตสาหกรรม (Industrial based issue) ต่อไป รวมทั้งที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานบูรณาการงานวิจัย ในการจัดทำ Value Chain สินค้าเกษตรในเชิงลึก 5 รายการ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และข้าวโพด โดยมุ่งเน้นการตอบโจทย์การพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะความต้องการของตลาด รวมถึงการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินคาเกษตรเพื่อการส่งออก เป็นต้น

จากนั้น นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ พร้อมสอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยความสนใจ ก่อนเดินทางกลับ

_______________

 

 

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นรม. สั่งการ มท. ,คค. และ สตช. ดูแลความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 พร้อมกล่าวว่าเป็นช่วง " 7 วันแห่งความสุขและความปลอดภัย"

$
0
0
นรม. สั่งการ มท. ,คค. และ สตช. ดูแลความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 พร้อมกล่าวว่าเป็นช่วง

นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ พร้อมมอบหมายกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นหน่วยงานหลัก และกำชับทุกภาคส่วนดูแลความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ

วันนี้ (10 เม.ย.57) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (คลอง 9) อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) โดยมี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการส่งสัญญาณความพร้อมในระดับนโยบายที่จะผลักดันการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นหน่วยงานหลักดูแลความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมกำชับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะทางจังหวัดและท้องถิ่น เตรียมการ และจัดระเบียบต่าง ๆ ในการเล่นน้ำ โดยเน้นทางถนน เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และเป็นการสร้างความปลอดภัย รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ดีของไทย

ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปภ. จะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติภัยทางถนนตามนโยบายของรัฐบาล โดยปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยทางถนนช่วงควบคุมเข้มข้นอย่างจริงจัง ภายใต้แนวคิด "ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ" ซึ่งในปีนี้ทางจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานและดูแลการลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ด้วยตนเอง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับสภาพปัจจัยเสี่ยงในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ อุบัติเหตุทางถนนถือเป็นสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตคนไทยกว่าปีละ 12,000 คน เฉลี่ยเดือนละกว่า 1,000 คน หรือวันละ 30 คน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่สำคัญ ๆ มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงปกติ รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการในการรักษาความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีความห่วงใยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ดังนั้น เพื่อให้การบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยทางถนนช่วงควบคุมอย่างเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2557 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมอบหมายและกำชับหน่วยงานดังกล่าวดูแลในเรื่องความปลอดภัย ทั้งทางถนนและความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ อาทิ การบริการด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะห้องสุขา รวมทั้งได้กำหนดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ (Zoning) ที่ปลอดจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มมากขึ้น จึงได้มุ่งเน้นการบริหารจัดการระบบจราจร เพื่อให้ประชาชนเดินทางโดยสวัสดิภาพควบคู่กับการส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างปลอดภัยตามขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนให้เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุข ถนนทุกสายเป็นเส้นทางแห่งความปลอดภัย

ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือและเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในช่วง 7 วัน ซึ่งภายใต้แนวคิดดังกล่าวนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพิ่มเติมว่าต้องการให้เทศกาลสงกรานต์นี้เป็นช่วง "7 วันแห่งความสุขและความปลอดภัย" เพื่อให้ประชาชนได้กลับสู่ภูมิลำเนาอย่างปลอดภัยและมีความสุขอยู่กับครอบครัว ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นเทศกาลฯ ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และได้อวยพรเนื่องในวันปีใหม่ไทยนี้ว่า “ขอพรคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โปรดคุ้มครองให้คนไทยมีแต่ความปลอดภัย มีความสุข และเราจะได้รวมพลังกันในการทำประเทศไทยก้าวพ้นจากปัญหาและสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วง” ส่วนเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น นายกรัฐมนตรีได้มีความเป็นห่วงอย่างมาก จึงได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารดูแลอย่างเข้มงวด

--------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

ปลัดกระทรวงต่างๆ เข้าอวยพรนายกรัฐมนตรี เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

$
0
0
ปลัดกระทรวงต่างๆ เข้าอวยพรนายกรัฐมนตรี เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

วันนี้ (17 เมษายน 2557) เวลา 10.30 น. ณ บริเวณด้านในห้องประชุมสยามปฐพีพิทักษ์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี ก่อนการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า เข้าอวยพร นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย โดยมีปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความขอบคุณที่ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา และช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ผ่านมาได้ ซึ่งอยากให้ช่วยกันทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ยอมรับว่ามีความผูกพันในการทำงานร่วมกัน ขอให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ให้คุ้มครองข้าราชการทุกท่าน ให้มีความสุขร่มเย็น มีแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยถ้วนหน้ากัน

..........................................

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก


นายกรัฐมนตรีเผยกรณีที่นายชัยเกษมฯ เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ต้องยึดกฎหมาย เชื่อไร้สุญญากาศทางการเมือง

$
0
0
นายกรัฐมนตรีเผยกรณีที่นายชัยเกษมฯ เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ต้องยึดกฎหมาย  เชื่อไร้สุญญากาศทางการเมือง

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยคดีแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ตามข้อกฎหมาย หากแม้วินิจฉัยให้สิ้นสภาพจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีคนอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนอยู่ พร้อมยืนยันจะไม่เกิดสุญญากาศทางการเมือง

 

วันนี้ (18 เมษายน 2557) เวลา 16.10 น. ณ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ออกมาเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 นั้น จะต้องยึดตามหลักของรัฐธรรมนูญ ซึ่งในแง่ของข้อกฎหมายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันและต้องรอให้มีความชัดเจนก่อน รวมถึงการดำเนินการต่างๆ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่และยังไม่มีข้อสรุป จึงต้องมีการดำเนินการศึกษาในรายละเอียดก่อน และต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายหรือเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อกฎหมายหารือให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อน

ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยคดีแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ตามหลักของกฎหมาย และหากแม้วินิจฉัยให้สิ้นสภาพ ก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีคนอื่น ปฏิบัติหน้าที่แทนอยู่แล้ว เพราะตำแหน่งนี้จะต้องมีผู้ที่รักษาการณ์ พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการเกิดสุญญากาศทางการเมืองอย่างแน่นอน เพราะข้อกฎหมายต่าง ๆ บัญญัติไว้ให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งในส่วนของตนก็ต้องปฏิบัติตามกฎบัญญัติของกฎหมาย ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้ทนายความส่งเอกสารชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วบางส่วน พร้อมทั้ง ได้ขอขยายระยะเวลาในการชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากระยะเวลาเดิมมีเพียง 15 วัน และจะขอเบิกพยานเพิ่มเติม ซึ่งต้องรอการประชุมของคณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาในวันที่ 23 เมษายน 2557 นี้

ส่วนหากผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในทางใดนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยากให้มองในเรื่องของความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชน ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น พร้อมทั้ง อยากให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตตามปกติ ไม่เกิดความรุนแรง

ส่วนการออกพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญนั้น ได้มอบหมายให้กฤษฎีกาและเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะหารือร่วมกับเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

...........................

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 


รอง ลธน.พลตำรวจตรี ธวัชฯ รับหนังสือจากตัวแทนคนพิการกรณีที่สำนักงานสลากฯ ออกประกาศให้คนพิการแจ้งความประสงค์ขอรับสลากไปจำหน่าย

$
0
0
รอง ลธน.พลตำรวจตรี ธวัชฯ รับหนังสือจากตัวแทนคนพิการกรณีที่สำนักงานสลากฯ ออกประกาศให้คนพิการแจ้งความประสงค์ขอรับสลากไปจำหน่าย

นายสมชาย ปัญญ์เอกวงศ์ ประธานฝ่ายส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนคนพิการ ประมาณ จำนวน 30 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

วันนี้ (21 เมษายน 2557) เวลา 13.15 น. ณ หน้ากองเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี นายสมชาย ปัญญ์เอกวงศ์ ประธานฝ่ายส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนคนพิการ ประมาณ จำนวน 30 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ออกประกาศให้คนพิการแจ้งความประสงค์ขอรับสลากไปจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้มีการจัดสรรสลากให้ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ส่งผลให้ผู้พิการได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของค่าใช้จ่ายและรายได้ที่มีไม่พอต่อการเลี้ยงชีพได้ จึงได้ร้องขอให้รัฐบาลช่วยเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้พิการในการจัดสรรโควตาด้วย

ทั้งนี้ข้อเรียกร้องดังกล่าว มีดังนี้ 1) ให้สำนักงานสลากฯ จัดสรรโควตาสลากฯ รายบุคคลอย่างเร่งด่วน ให้กับคนพิการที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการจัดสรรสลากไว้กับ สำนักงานสลาดฯ ได้มาแสดงตนในวันนี้ คนละ 6 เล่มเล็ก (3 เล่มใหญ่) 2)ถ้าเพิ่มสลากฯ ไม่ได้ ให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจัดหาสลากฯณ เฉพาะหน้ามาให้ผู้เดือดร้อนที่มาแสดงตนได้ซื้อในราคาพิเศษต่ำกว่าท้องตลาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และ 3) ขอให้สำนักงานสลากฯ พิจารณาจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลให้กับองค์กรคนพิการ ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรสลากฯ โดยไม่ต้องแรนด้อมรายชื่อ

โอกาสนี้พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ได้มารับหนังสือฯ แทนนายกรัฐมนตรีด้วยตนเอง โดยขอให้ทางประธานฝ่ายส่งเสริมอาชีพฯ ได้ดำเนินการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และส่งเอกสารมาให้ภายใน 2-3วัน เพื่อเป็นข้อมูลให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการและหารือกับกองสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมกล่าวรัฐบาลยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือผู้พิการที่ได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป

 

...............................

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงิน

$
0
0
นายกรัฐมนตรีประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงิน

นายกรัฐมนตรีประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงิน พร้อมแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลงเป็นผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเสนอแนะหน่วยงานด้านเศรษฐกิจติดตามสถานการณ์เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหา

วันนี้ (21 เมษายน 2557) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางเบญจา หลุยเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุมด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 6 เดือน ส่งผลให้นักท่องเที่ยว นักลงทุน และภาคเอกชนทุกภาคส่วนขาดความเชื่อมั่น นำไปสู่ความถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลว่าจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วันนี้จึงได้เรียกประชุมหน่วยงานและคณะทำงานกำกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อรับฟังการรายงานสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงิน และติดตามการบริหารจัดการงบประมาณของปีงบประมาณ 2557 และ 2558

หลังจากรับฟังการรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยิ่งมีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลง ซึ่งเป็นผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจชลอตัว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับลดการประมาณการ GDP ในปีนี้ จากร้อยละ 4 – 5 เป็น ร้อยละ 3 – 4 ในขณะเดียวกันทางสถาบันการเงินภาคเอกชน ก็ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตได้เพียง ร้อยละ 1 – 2 เท่านั้น

สำหรับการส่งออกยังมีการฟื้นตัวช้า โดยแรงขับเคลื่อนอาจมีไม่เพียงพอที่จะชดเชยการหดตัวของ อุปสงค์ในประเทศ และส่วนภาคการท่องเที่ยวซึ่งเคยขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบินในกรุงเทพที่มีการชุมนุม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านท่าอากาศยาน ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 และ 2556 เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ลดลง ร้อยละ 20 และท่าอากาศยานดอนเมือง ลดลง ร้อยละ 14

นอกจากนั้น เหตุการณ์ทางการเมืองที่ทำให้มีความล่าช้าในการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 สำนักงบประมาณรายงานว่า กระบวนการจัดทำงบประมาณได้ล่าช้าไปแล้วประมาณ 6 เดือน แม้ว่าสำนักงบประมาณแจ้งว่าในปี 2558 จะสามารถจัดสรรงบประมาณไปพลางก่อน เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถทำงานได้ แต่ก็ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการลงทุนใหม่หรือมีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้

ในขณะเดียวกันการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2557 ได้สั่งการให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการเบิกจ่าย เท่าที่สามารถดำเนินการได้ในฐานะรัฐบาลรักษาการ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ พร้อมทั้งกระทรวงการคลังได้รายงานผลการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสาเหตุหลักมาจากการบริโภคที่ลดลง

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานด้านเศรษฐกิจจะต้องติดตามสถานการณ์เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหา เช่น ในส่วนของกระทรวงการคลังได้สั่งการให้วิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บรายได้ เพื่อหาสาเหตุของการจัดเก็บรายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และในส่วนของการลงทุนได้สั่งการให้ BOI เร่งส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และต่อจากนี้จะเร่งติดตามและบูรณาการการทำงานของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป ทั้งนี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน สร้างความมั่นคงทางการเมืองให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน หลังจากนั้นเชื่อว่า เศรษฐกิจของไทยมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน

 

...............................

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

$
0
0
รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2  เมษายน 2558

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ครั้งที่ 1/2557

วันนี้ (18 เมษายน 2557) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสยามปฐพีพิทักษ์ ชั้น 10 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ครั้งที่ 1/2557 โดยมี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แจ้งที่ประชุมเพื่อรับทราบว่า การประชุมคณะอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วันนี้เป็นการประชุมฯ ครั้งแรก นับเป็นมหามงคลพิเศษที่รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พระอัจริยภาพ และพระเกียรติคุณนานับปการที่ทรงมีต่อประชาชนและประเทศชาติ ทั้งนี้ โดยในคณะกรรมการชุดนี้ ได้เรียนเชิญประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาและกรรมการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีทุกท่านเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ

พร้อมกันนี้ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ที่ประชุมเห็นชอบขอพระราชทานชื่อพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” และชื่อการจัดงานเฉลิมพระเกียรติว่า “งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” พร้อมทั้งชื่อภาษาอังกฤษใช้เพียงชื่อเดียว ซึ่งหมายรวมถึงชื่อพระราชพิธีและชื่อการจัดงานเฉลิมพระเกียรติว่า “The Celebrations on the Auspicious Occasion of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’5th Cycle Birthday Anniversary 2 th April 2015” th ซึ่งกำหนดเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

อีกทั้งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมอบให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบตราสัญลักษณ์ และส่งสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย พร้อมมอบให้สำนักราชเลขาธิการพิจารณาการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ในกรณีที่มีหน่วยงานแจ้งความประสงค์ขอใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อประดับในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ

รวมทั้งที่ประชุมได้รับทราบการจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา มอบหมายให้สำนักพระราชวังพิจารณาดำเนินการ การจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาดำเนินการ การจัดพิธีทำบุญตักบาตรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มอบหมายให้กรุงเทพมหานครและกระทรวงมหาดไทยแจ้งทุกจังหวัด การจัดนิทรรศการ มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และการประชาสัมพันธ์ มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการอีกด้วย

พร้อมทั้งได้ เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจัดทำโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยให้เสนอโครงการและกิจกรรมดังกล่าวไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจาณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

....................................

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหาและยึดประเทศเป็นที่ตั้งเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าได้

$
0
0
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหาและยึดประเทศเป็นที่ตั้งเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าได้

วันนี้ ( 22 เม.ย.57) เวลา 13.20 น. ณ องค์การพิพิธพันฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เตรียมเสนอคู่ขัดแย้งด้วยการไม่ส่งคนตระกูลชินวัตรลงเลือกตั้ง ให้เว้นวรรทางการเมือง 1 ปี เพื่อแลกกับการยุติปัญหาความขัดแย้งว่า ยังได้มีการพูดคุยเรื่องดังกล่าว และส่วนตัวก็ไม่ได้ยึดติดในตำแหน่งซึ่งตรงนี้ได้เรียนให้ประชาชนรับทราบแล้ว แต่สิ่งที่อยากเห็นคือทำอย่างไรให้ประเทศชาติสงบ ทุกคนรักษากติกาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย ซึ่งเราก็ยินดีให้ความร่วมมือ ส่วนภายหลังมีข่าวดังกล่าวออกมา พ.ต.ท.ทักษิณฯได้มีการพูดคุยเร่ืองการเว้นวรรคทางการเมืองกับนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ถาม แต่ส่วนตัวเคยกล่าวไปแล้วว่าไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง ซึ่งอะไรที่เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และทำให้ประเทศชาติสงบได้เรายินดี วันนี้เราอยากเห็นบ้านเมืองของเรากลับเข้าสู่กติกา ทุกคนเคารพกติกา เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าได้ เพราะเราเจ็บปวดมามากพอแล้ว และประเทศชาติของเราก็เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งจากการที่ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ การคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) พบว่าตัวเลขเศรษฐกิจ ปี2557 มีผลกระทบมาก ซึ่งในระยะยาวหากยังไม่มีการเลือกตั้ง และไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาส่งผลทำให้การจัดทำงบประมาณปี58 ล่าช้าไปแล้วประมาณ 6 เดือน และกระทบกับโครงการลงทุนใหม่ ซึ่งอาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 58 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่เป็นห่วง

ส่วนนายกรัฐมนตรี คิดที่จะเว้นวรรคทางการเมืองหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เรียนไปแล้วว่าไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ ถ้าอะไรที่เป็นความต้องการของประเทศ และนำมาซึ่งมากติกาที่ทุกคนยอมรับ ก็ขอให้ทุกคนเคารพในกติกา ทั้งนี้ตนเองไม่มีเงื่อนไขใดๆและไม่อยู่ในสภาวะที่จะมาตั้งเงื่อนไขซึ่งกันและกัน ถ้าวันนี้เรามีทิฐิต่อกันและตั้งเงื่อนไข ประเทศของเราและประชาชนคนไทยก็จะเจ็บปวด แต่สิ่งที่อยากเห็นคือเราจะนำประเทศของเราให้พ้นจากปัญหาต่างๆ นี้อย่างไร ซึ่งหลายประเทศก็รอในการสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ปี 2558 เราจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แล้วเราจะยืนอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มประเทศอาเซียนได้อย่างไร เมื่อประเทศไทยไม่มีแม้กระทั่งการเลือกตั้ง และไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง วันนี้เรายังไม่มีวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่เรียบร้อย ทั้งหมดนี้เราจะสร้างความเชื่อมั่นใหักับต่างประเทศได้อย่างไร ตรงนี้คือผลที่อยากสะท้อนให้เห็นว่าถ้าเราไม่กลับเข้าสู่กติกาก็จะส่งผลกระทบทั้งในปีนี้และปีหน้า ดังนั้นจึงอยากขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหา

ส่วนจะทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการอย่างไรนั้น เราก็ต้องถามประชาชนคืออำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ทุกคนมีสิทธิ์หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่ากัน ฉะนั้นสิ่งที่จะได้มาซึ่งการเคารพในเสียงส่วนใหญ่ก็คือการใช้กติกาที่ทุกคนยอมรับซึ่งคือการเลือกตั้ง หรือประชามติ ที่ทุกคนยอมรับผล

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศจะยังขัดขวางการเลือกตั้งว่า ตรงนี้คงต้องถามว่า ถ้าเรารักประเทศ เราขัดขวางกันทุกวัน แล้วประเทศจะเดินต่อไปได้อย่างไร ประเทศก็จะมีแต่ถอยหลังทุกวัน ซึ่งวันนี้ทุกคนพยายามยึดเอาแต่ตัวตนและบุคคล ขัดแย้งกันตลอดเวลาแล้วเราจะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่จะให้ประเทศหลุดพ้นปัญหาความวุ่นวายทางสถานการณ์การเมืองได้อย่างไร ดังนั้นต้องยึดเอาประเทศเป็นที่ตั้งและทุกคนพยายามให้ประเทศเดินหน้าได้

 

 

 

 

-------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)

$
0
0
ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)

รอง นรม.พงศ์เทพฯ เผย ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)ก่อนดำเนินการต่อไป

วันนี้ ( 22 เม.ย.57) เวลา 13.00 น. ณ องค์การพิพิธพันฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้เปิดในวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 และปิดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 เพื่อพิจารณาเรื่องของการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) นั้น ปรากฏว่ามีหนังสือจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา มีความเห็นต่าง โดยสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการเปิดประชุมดังกล่าวเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา ซึ่งทางด้านเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการหารือกับเลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งรองราชเลขาธิการมาแล้วครั้งหนึ่ง สุดท้ายปรากฏยังมีหนังสือความเห็นของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเห็นต่างจากทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบความเป็นมาทั้งหมดของเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประสานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นดังกล่าว ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมยกร่างพระราชกฤษฎีกาการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) ไว้ก่อน โดยเมื่อใดที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความเห็นที่ตรงกัน ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อที่จะได้ดำเนินการต่อไป

 

----------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2557

$
0
0
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2557

วันนี้ (22 เมษายน 2557) เวลา 09.35 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ


รอง นรม.และรมว.กค. กิตติรัตน์ฯ ย้ำการจัดอันดับ"มูดีส์"ของไทยที่ BAA1 อยู่ในระดับที่ดี พร้อมเร่งผลักดันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งมากขึ้น

$
0
0
รอง นรม.และรมว.กค. กิตติรัตน์ฯ ย้ำการจัดอันดับ

วันนี้ (23 เม.ย. 57) เวลา 13.45 น. ณ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้น การประชุมติดตามการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายของประเทศ โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางเบญจา หลุยเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายนนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะต้องรายงานผลการจัดเก็บภาษี และการจัดหารายได้ของรัฐบาลที่นอกเหนือจาก กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรแล้ว ก็ยังมีแหล่งรายได้ที่มาจากทุนหมุนเวียน และรัฐวิสาหกิจด้วย ซึ่งวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย. 57) ทาง สศค. จะมีการรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และเผยแพร่สู่ประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมการประชุมในวันนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวต่อว่า เรื่องการจัดเก็บรายได้ใน 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 ประมาณ 1.11 ล้านล้านบาท ถ้าหากหักส่วนที่มีการขอคืนภาษี หรือหักในส่วนที่ได้นำเงินสมทบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไป จะมียอดสุทธิอยู่ที่ 9.35 ล้านบาท น้อยกว่าเป้าหมายประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งนายกิตติรัตน์ฯ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ข้อกังวลที่จะทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณนี้ยังไม่ใช่ปัญหา เพราะในด้านการจ่ายงบประมาณก็จะมีความล่าช้าเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถดำเนินการบางเรื่องได้ ส่งผลให้การตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตามฐานของการจัดเก็บรายได้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการประเมินฐานรายได้ในปีงบประมาณ 2558 และเป็นส่วนในการกำหนดนโยบาย เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่นำมาดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ (มูดีส์) ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BAA 1 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีพอสมควร และต่างประเทศยังเล็งเห็นเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังมีความแข็งแกร่งอยู่ แต่อาจจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือที่ลดลงโดยมีผลกระทบมาจากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน

ในส่วนของโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาล 2556/57  นายกิตติรัตน์ฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มีการรับจำนำข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9 ล้านบาท โดยขณะนี้ได้จ่ายค่าจำนำข้าวประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว  และจะทยอยจ่ายให้ครบโดยเร็ว ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนให้ชาวนา และได้เชิญชวนสถาบันต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วย สำหรับขบวนการในการขอใช้เงินสำรองจ่ายงบประมาณ  2  หมื่นล้านบาท ได้ดำเนินการจ่ายให้เกษตรกรชาวนาเรียบร้อยแล้ว โดยทางกระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งเงินระบายข้าวในช่วงที่ผ่านมาประมาณ 1.5 ล้านบาท และจะดำเนินการให้สำเร็จตามกำหนดการวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 เมื่อครบตามกำหนดทางสำนักงบประมาณและกระทรวงพาณิชย์จะต้องพิจารณาหารือกันต่อว่า จะดำเนินการกันต่ออย่างไร

ส่วนประเด็นเรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่ได้มีการชี้แจงต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ได้ชี้แจงกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปแล้วอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องความพร้อมทาง การเงิน การคลัง ในเรื่องของการจัดงบประมาณเพื่อที่จะดูแลโครงการรับจำนำข้าวที่ไม่ใช้จำนวนที่เกินเลยไปกว่าการดูแลในรูปแบบของการประกันราคาและประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งทาง สศค. ได้มีการคำนวณว่า ในแต่ฤดูกาลผลิตรายได้ของเกษตรกรได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นมูลค่ากว่าปีละ 3 แสนล้านบาท และสามารถตอบโจทย์ได้ว่าเป็นโครงการฯ ซึ่งมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจและเป็นการสร้างรายได้ เมื่อนำไปหักกับรายรับที่น้อยกว่าอาจจะถูกเรียกว่าขาดทุนนั้น ก็ไม่ได้เป็นจำนวนที่เกินเลยไปกว่าความเหมาะสม เนื่องจากรัฐบาลได้ดูแลเกษตรกรชาวนาจำนวนถึง 37 ล้านครัวเรือน พร้อมทั้งมั่นใจว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. คงมีความเมตตาใช้ดุลยพินิจอย่างเป็นธรรม

--------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

นายกรัฐมนตรีหวังศาลรัฐธรรมนูญและป.ป.ช.ตัดสินด้วยความยุติธรรม เป็นไปตามหลักสากลและมาตรฐานเดียวกัน

$
0
0
นายกรัฐมนตรีหวังศาลรัฐธรรมนูญและป.ป.ช.ตัดสินด้วยความยุติธรรม เป็นไปตามหลักสากลและมาตรฐานเดียวกัน

วันนี้ (25เม.ย.57) เวลา 14.40 น. ณ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตยและ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ไปพบกลุ่มประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ ว่า มองว่าอย่างน้อยก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะได้หันหน้ามาเจรจากัน และได้เห็นจุดร่วม และเห็นด้วยว่าการพูดคุยกันต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากเห็นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ส่วนนายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะพูดคุยกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราก็อยากให้มีการพูดคุยกันซึ่งถ้าทางผู้นำพรรคฝ่ายค้านได้มีการเปิดใจที่จะมาร่วมหาทางออกก็ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้หาแนวทางเดินไปด้วยกันและสามารถที่จะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยและภายใต้รัฐธรรมนูญ และเห็นด้วยว่าการใช้ความรุนแรง การปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ใช่คำตอบที่ประเทศจะเข้าสู่สันติภาพได้

ส่วนนายกรัฐมนตรีมองเห็นแสงสว่างที่จะแก้ปัญหาประเทศหรือยังนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแต่ต้องมีการศึกษาในรายละเอียด อย่างน้อยก็เชื่อว่าถ้าเริ่มเห็นด้วยกับกรอบหรือจุดร่วมจุดหนึ่ง ค่อยๆหันเข้าหากันอาจจะใช้เวลาบ้างก็เชื่อว่าเป็นแนวทางที่ดี ดีกว่าต่างคนต่างไม่หันหน้าเข้าหากัน อย่างไรก็ตาม หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องคุยกับทุกคนให้แน่ใจว่า แนวความคิดหรือจุดร่วมนี้คนส่วนใหญ่เห็นด้วย ซึ่งก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะได้พูดคุยกัน โดยในส่วนของรัฐบาลก็อยากจะเปิดโอกาสให้กับทุกคนในการที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแนวทางที่จะเสนอว่าเราจะหาทางออกประเทศอย่างไร ซึ่งจุดเริ่มต้นที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนออยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นสิ่งที่ดี

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีกลุ่ม นปช.จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ซึ่งตรงกับวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำไต่ส่วนพยานบุคคลที่จะมาให้ข้อเท็จจริง ว่า การชุมนุมต่าง ๆ ถ้าเป็นการชุมนุมด้วยความสงบและอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายก็เป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ตาม ขอร้องทุกฝ่ายที่จะมาชุมนุมให้ยึดปฏิบัติในกรอบของกฏหมายและอย่านำไปสู่ความรุนแรงและการขาดความเชื่อมั่น โดยทุกคนต้องหันมาสร้างบรรยากาศในเชิงบวก ส่วนการตัดสินของศาลฯ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ตัดสินว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม และให้ความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งหากมีความเป็นธรรม ผลการตัดสินออกมาอย่างไร ทุกคนต้องยอมรับ แต่ถ้าไม่เป็นธรรม เราก็มีความเป็นห่วง จึงหวังว่าคณกรรมการทั้งในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญหรือ ป.ป.ช. คงจะคำนึงถึงจุดนี้ด้วย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญและป.ป.ช.ก็ยืนยันว่าจะปฏิบัติกับทุกคนบนมาตรฐานเดียวกันและเป็นหลักสากล

ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ควรจะหันหน้ามาพูดคุยร่วมกันในวงนี้ด้วยหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นความหวังที่ดี และคิดว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พอที่จะหารือกับนายสุเทพฯ ได้ ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะเป็นโอกาศที่ดีที่จะได้รับฟังและค่อยปรับกันภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ

 

----------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2557

$
0
0
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2557

วันนี้ (22 เมษายน 2557) เวลา 09.35 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ

นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหาและยึดประเทศเป็นที่ตั้งเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าได้

$
0
0
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหาและยึดประเทศเป็นที่ตั้งเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าได้

วันนี้ ( 22 เม.ย.57) เวลา 13.20 น. ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เตรียมเสนอคู่ขัดแย้งด้วยการไม่ส่งคนตระกูลชินวัตรลงเลือกตั้ง ให้เว้นวรรทางการเมือง 1 ปี เพื่อแลกกับการยุติปัญหาความขัดแย้งว่า ยังได้มีการพูดคุยเรื่องดังกล่าว และส่วนตัวก็ไม่ได้ยึดติดในตำแหน่งซึ่งตรงนี้ได้เรียนให้ประชาชนรับทราบแล้ว แต่สิ่งที่อยากเห็นคือทำอย่างไรให้ประเทศชาติสงบ ทุกคนรักษากติกาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย ซึ่งเราก็ยินดีให้ความร่วมมือ ส่วนภายหลังมีข่าวดังกล่าวออกมา พ.ต.ท.ทักษิณฯได้มีการพูดคุยเร่ืองการเว้นวรรคทางการเมืองกับนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ถาม แต่ส่วนตัวเคยกล่าวไปแล้วว่าไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง ซึ่งอะไรที่เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และทำให้ประเทศชาติสงบได้เรายินดี วันนี้เราอยากเห็นบ้านเมืองของเรากลับเข้าสู่กติกา ทุกคนเคารพกติกา เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าได้ เพราะเราเจ็บปวดมามากพอแล้ว และประเทศชาติของเราก็เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งจากการที่ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ การคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) พบว่าตัวเลขเศรษฐกิจ ปี2557 มีผลกระทบมาก ซึ่งในระยะยาวหากยังไม่มีการเลือกตั้ง และไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาส่งผลทำให้การจัดทำงบประมาณปี58 ล่าช้าไปแล้วประมาณ 6 เดือน และกระทบกับโครงการลงทุนใหม่ ซึ่งอาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 58 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่เป็นห่วง

ส่วนนายกรัฐมนตรี คิดที่จะเว้นวรรคทางการเมืองหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เรียนไปแล้วว่าไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ ถ้าอะไรที่เป็นความต้องการของประเทศ และนำมาซึ่งมากติกาที่ทุกคนยอมรับ ก็ขอให้ทุกคนเคารพในกติกา ทั้งนี้ตนเองไม่มีเงื่อนไขใดๆและไม่อยู่ในสภาวะที่จะมาตั้งเงื่อนไขซึ่งกันและกัน ถ้าวันนี้เรามีทิฐิต่อกันและตั้งเงื่อนไข ประเทศของเราและประชาชนคนไทยก็จะเจ็บปวด แต่สิ่งที่อยากเห็นคือเราจะนำประเทศของเราให้พ้นจากปัญหาต่างๆ นี้อย่างไร ซึ่งหลายประเทศก็รอในการสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ปี 2558 เราจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แล้วเราจะยืนอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มประเทศอาเซียนได้อย่างไร เมื่อประเทศไทยไม่มีแม้กระทั่งการเลือกตั้ง และไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง วันนี้เรายังไม่มีวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่เรียบร้อย ทั้งหมดนี้เราจะสร้างความเชื่อมั่นใหักับต่างประเทศได้อย่างไร ตรงนี้คือผลที่อยากสะท้อนให้เห็นว่าถ้าเราไม่กลับเข้าสู่กติกาก็จะส่งผลกระทบทั้งในปีนี้และปีหน้า ดังนั้นจึงอยากขอความร่วมมือให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันในการแก้ไขปัญหา

ส่วนจะทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการอย่างไรนั้น เราก็ต้องถามประชาชนคืออำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ทุกคนมีสิทธิ์หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่ากัน ฉะนั้นสิ่งที่จะได้มาซึ่งการเคารพในเสียงส่วนใหญ่ก็คือการใช้กติกาที่ทุกคนยอมรับซึ่งคือการเลือกตั้ง หรือประชามติ ที่ทุกคนยอมรับผล

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศจะยังขัดขวางการเลือกตั้งว่า ตรงนี้คงต้องถามว่า ถ้าเรารักประเทศ เราขัดขวางกันทุกวัน แล้วประเทศจะเดินต่อไปได้อย่างไร ประเทศก็จะมีแต่ถอยหลังทุกวัน ซึ่งวันนี้ทุกคนพยายามยึดเอาแต่ตัวตนและบุคคล ขัดแย้งกันตลอดเวลาแล้วเราจะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่จะให้ประเทศหลุดพ้นปัญหาความวุ่นวายทางสถานการณ์การเมืองได้อย่างไร ดังนั้นต้องยึดเอาประเทศเป็นที่ตั้งและทุกคนพยายามให้ประเทศเดินหน้าได้

 

-------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)

$
0
0
ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)

รอง นรม.พงศ์เทพฯ เผย ครม.มอบ สลค.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2)ก่อนดำเนินการต่อไป

วันนี้ ( 22 เม.ย.57) เวลา 13.00 น. ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้เปิดในวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 และปิดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 เพื่อพิจารณาเรื่องของการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) นั้น ปรากฏว่ามีหนังสือจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา มีความเห็นต่าง โดยสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการเปิดประชุมดังกล่าวเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา ซึ่งทางด้านเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการหารือกับเลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งรองราชเลขาธิการมาแล้วครั้งหนึ่ง สุดท้ายปรากฏยังมีหนังสือความเห็นของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเห็นต่างจากทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบความเป็นมาทั้งหมดของเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประสานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นดังกล่าว ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมยกร่างพระราชกฤษฎีกาการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) ไว้ก่อน โดยเมื่อใดที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความเห็นที่ตรงกัน ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อที่จะได้ดำเนินการต่อไป

 

----------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

Viewing all 1192 articles
Browse latest View live




Latest Images